ผลของการพ่นยาชาที่ปากมดลูกร่วมกับการฉีดยาชาเข้าโพรงมดลูกเปรียบเทียบกับการฉีดยาชาข้างปากมดลูกเพื่อลดความปวดในการขูดมดลูกแบบแยกส่วน:การทดลองแบบสุ่ม
ภิญญา เอื้อพงศ์การุณ*, ชินวัฒน์ ศรีนิล, มาลีชาติ ศรีพิพัฒนะกุล, ทุมวดี ตั้งศิริวัฒนา
Department of Obstetrics and Gynecology, Khon Kaen Hospital, Khon Kaen 40000, Thailand, Tel: +664-3232555, E-mail: pinya1990@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการใช้ยาชาชนิดพ่นร่วมกับการฉีดยาชาเข้าโพรงมดลูก เปรียบเทียบกับการฉีดยาชาข้างปาก มดลูก ในการลดความปวดระหว่างการขูดมดลูกแบบแยกส่วน และหลังจากขูดมดลูก 30 นาที
วัสดุและวิธีการศึกษา: สตรีที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดและมีข้อบ่งชี้ในการขูดมดลูกที่เข้ารับการรักษาระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ปี 2561 จำนวน 112 คน ถูกสุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่มเพื่อรับการพ่นยาชาที่ปากมดลูก ร่วมกับฉีดยาชาเข้าโพรงมดลูก เปรียบเทียบกับการฉีดยาชาข้างปากมดลูก โดยประเมินความเจ็บปวดขณะและหลังขูดมดลูก 30 นาทีโดยแพทย์ที่ไม่ได้ทำการขูดมดลูก รวมทั้งประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา ความต้องการยาแก้ปวดชนิดอื่นๆ เพิ่มเติม และความสามารถในการอ่านผลชิ้นเนื้อ ตัววัดที่สำคัญคือคะแนนความเจ็บปวดในขณะและหลังขูดมดลูก 30 นาที
ผลการวิจัย: ลักษณะทางประชากรศาสตร์ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม ระดับความปวดในกลุ่มที่ได้รับการพ่นยาชาที่ปาก มดลูกร่วมกับฉีดยาชาเข้าโพรงมดลูกน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการฉีดยาชาข้างปากมดลูกซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (ค่ามัธยฐานของกลุ่มทดลอง 71.5 คะแนน (53.5-82.5), กลุ่มควบคุม 50.5 คะแนน (39-63), p < 0.001) และไม่พบ ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับความปวดหลังขูดมดลูก 30 นาที ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ความต้องการ ยาแก้ปวดชนิดอื่น และชิ้นเนื้อที่ไม่สามารถแปลผลได้ในงานวิจัยนี้
สรุป: การพ่นยาชาที่ปากมดลูกร่วมกับฉีดยาชาเข้าโพรงมดลูก สามารถลดความปวดขณะขูดมดลูกได้อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติเมื่อเทียบกับการฉีดยาชาข้างปากมดลูก และไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2562, October ปีที่: 27 ฉบับที่ 4 หน้า 180-186
คำสำคัญ
Fractional curettage, Paracervical block, pain score, Visual analog scale, lidocaine spray, intrauterine lidocaine, การขูดมดลูกแบบแยกส่วน, การฉีดยาชาเข้าโพรงมดลูก, การฉีดยาชาข้างปากมดลูก, การพ่นยาชาที่ปากมดลูก, การให้คะแนนความปวดโดยใช้มาตรวัดด้วยสายตา