คุณภาพชีวิตและความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียในศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน
พชรพรรณ สาริสุต
สาขาวิชากุมารเวชกรรม ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและความชุกของภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเด็ก โรคธาลัสซีเมียในศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน ทำการศึกษาในผู้ป่วยเด็ก จำนวน 23 ราย อายุ 3-13 ปี (เฉลี่ย 7.8 ปี) เพศชาย 18 ราย                   (ร้อยละ   78) โดยใช้แบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิต PedsQLTM 4.0 ของ JW Vami ฉบับภาษาไทย และแบบสอบถามประเมินแนวโน้มการเกิดภาวะซึมเศร้าสำหรับเด็ก Children’s Depression Inventory (CDI) ฉบับภาษาไทย ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.9) เป็นชนิด Betathal/HbE                    disease ร้อยละ 77.3 ได้รับเลือดทุกเดือน และ ร้อยละ 72.7 ได้รับยาขับเหล็ก ผลจากการประเมินระดับคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย พบว่า ประมาณ ครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 52.2) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ในระดับต่ำและระดับสูงมีค่าใกล้เคียงกันทางด้านอารมณ์และทางด้านสังคม ส่วนใหญ่                   (ร้อยละ     69.6 และ 65.2) อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ      
 สุดท้ายด้านการเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 78.3)            อยู่ในรับปานกลาง รองลงมา (ร้อยละ 17.4)                 อยู่ในระดับต่ำและน้อยสุด       (ร้อยละ     8.7) อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ป่วย 6 ใน 14                ราย ที่ทำแบบสอบถาม CDI มีแนวโน้มการเกิดภาวะซึมเศร้า ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียได้อย่างครบถ้วนทั้งทางกาย จิตใจ และสังคมต่อไป
 
ที่มา
วารสารจักษุสาธารณสุข ปี 2562, May-August ปีที่: 49 ฉบับที่ 2 หน้า 200-209
คำสำคัญ
Depression, Quality of life, คุณภาพชีวิต, Thalassemia, ธาลัสซีเมีย, ผู้ป่วยเด็ก, ภาวะซึมเศร้า, คุณภาพชี่วิต, child patients