ประสิทธิผลของการบำบัดร่วมระหว่างรูปแบบโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและเครื่องมือไบโอฟีดแบคชนิดควบคุมอัตราการแปรปรวนการเต้นของหัวใจสำหรับผู้ติดสุรา
พิจิตรา ธีระวิสุทธิ์กุล, พิชัย แสงชาญชัย, วสุนันท์ ุชุ่มเชื้อ*
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พุทธมณฑล ศาลายา จ.นครปฐม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเครียดและร้อยละ จำนวนวันที่หยุดดื่มสุราเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยติดสุราไม่ได้รับการบำบัดด้วยรูปแบบโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าร่วมกับกลุ่มผู้ป่วยติดสุราที่ได้รับการบำบัดด้วยรูปแบบโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าร่วมกับเครื่องมือไบโอฟีดแบคชนิดควบคุมอัตราการแปรปรวนการเต้นของหัวใจ
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดข้างเดียวในผู้ติดสุราเพื่อเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าร่วมกับเครื่องมือไบโอฟีดแบคชนิดควบคุมอัตราการ แปรปรวนการเต้นของหัวใจ (กลุ่มทดลอง) จำนวน 16 ครั้ง สัปดาห์ละ 4 ครั้ง โดยใช้เวลาครั้งละ 30-60 นาที กับการบำบัดด้วยรูปแบบโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (กลุ่มควบคุม) เพื่อดูผลต่อความเครียดหลังการทดลองแบบทันที และหลังการทดลอง 1 เดือน และร้อยละจำนวนวันที่หยุดดื่มหลังการทดลอง 1 เดือน
ผลการศึกษา :  กลุ่มทดลอง 17 ราย และกลุ่มควบคุม 18 ราย ก่อนทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียด ของผู้ป่วยติดสุราทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.231) กลุ่มที่ได้รับการบำบัดร่วม ระหว่างรูปแบบโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและเครื่องมือไบโอฟีดแบคชนิดควบคุมอัตราการแปรปรวน การเต้นของหัวใจมีผลต่างคะแนนความเครียดหลังการทดลอง 1 เดือนมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการบำบัด ด้วยรูปแบบโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.002) นอกจากนี้กลุ่มที่ ได้รับการบำบัดร่วมระหว่างรูปแบบโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและเครื่องมือไบโอฟีดแบคชนิดควบคุมอัตราการแปรปรวนการเต้นของหัวใจมีจำนวนที่หยุดดื่มหลังการทดลอง 1 เดือนมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการบำบัดด้วยรูปแบบโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.017)
สรุป: การบำบัดร่วมระหว่างรูปแบบโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและเครื่องมือไบโอฟีดแบคชนิดควบคุมอัตราการแปรปรวนการเต้นของหัวใจมีประสิทธิภาพในการลดความเครียดและจำนวนวันที่หยุดดื่มแก่ผู้ป่วยติดสุรา
 
ที่มา
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2561, July-September ปีที่: 63 ฉบับที่ 3 หน้า 247-258
คำสำคัญ
Stress, ความเครียด, ผู้ติดสุรา, alcohol use disorder, heart rate variability biofeedback, abstinent days, เครื่องมือไบโอฟีดแบคชนิดควบคุมอัตราการแปรปรวนการเต้นของหัวใจ, จำนวนวันที่หยุดดื่ม