การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในผู้ใหญ่เสียงผิดปกติก่อนและหลังได้รับการฝึกพูด
ทิพยวารี เอื้อวรคุณานันท์*, กัลยาณี มกราภิรมย์, เดชาวุธ นิตยสุทธิ
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย โทรศัพท์ +668 6568 3441
บทคัดย่อ
บทนำ: จากรายงานการศึกษาก่อนหน้านี้จำนวนมากระบุถึงประสิทธิผลของ การฝึกพูดโดยวัดผลจากคุณภาพเสียงมากกว่าการวัดผลจากคุณภาพชีวิต
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยผู้ใหญ่เสียงผิดปกติก่อนและหลังได้รับการฝึกพูด
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยผู้ใหญ่เสียงผิดปกติ จำนวน 36 คน ที่เข้ารับ การฝึกพูด ณ คลินิกฝึกพูดโรงพยาบาลรามาธิบดี ช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ผู้ป่วยได้รับการฝึกพูดสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 30 นาที รวมทั้งสิ้น 10 สัปดาห์ เทคนิคที่ใช้ในการฝึกพูดมีทั้งเทคนิคทางตรงและทางอ้อม จากนั้นวัดผลการฝึกพูดด้วยโปรแกรม Dr. Speech รุ่นที่ 5 เพื่อวิเคราะห์คุณภาพเสียง และแบบประเมินภาวะเสียงผิดปกติฉบับภาษาไทย เพื่อประเมินคุณภาพชีวิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน (Paired t test)
ผลการศึกษา: ผ้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 36 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 51.31 ปี แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามสาเหตุการเกิดเสียงผิดปกติ ได้แก่ สาเหตุจากโครงสร้างของเส้นเสียง จำนวน 18 คน สาเหตุจากการทำงานของเส้นเสียง จำนวน 8 คน สาเหตุจากระบบประสาท จำนวน 6 คน และสาเหตุจากการบวมอักเสบ จำนวน 4 คน โดยภายหลังการฝึก พูดพบว่า ผู้ป่วยมีคุณภาพเสียงและคุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีความแตกต่างกันก่อน และหลังการฝึกพูดย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) ผู้ป่วยทุกกลุ่มมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวม ของแบบประเมินภาวะเสียงผิดปกติฉบับภาษาไทยแตกต่างกันก่อนและหลังการฝึกพูดย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) โดยกลุ่มผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโครงสร้างของเส้นเสียงมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันก่อนและหลังการฝึกพูดอย่างมีนัยสำคัญในทุกหัวข้อของแบบประเมิน (P < .05) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีเสียงผิดปกติ จากสาเหตุอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการฝึกพูดในบางหัวข้อของแบบประเมิน ไดแก่ หัวข้อทางอารมณ์ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีสาเหตุ จากการทำงานของเส้นสียง หัวข้อทางกายภาพเส้นเสียงในกลุ่มผู้ป่วยที่มีสาเหตุ จากระบบประสาท และหัวข้อการทำงานของเส้นเสียงในกลุ่มผู้ป่วยที่มีสาเหตุ จากการบวมอักเสบ (P > .05)
สรุป: การฝึกพูดอาจมีประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยเสียงผิดปกติให้มีระดับความรุนแรงลดลงทั้งด้านคุณภาพเสียงและคุณภาพชีวิต ซึ่งการฝึกพูดสามารถรักษาเสียงผิดปกติได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเสียงผิดปกติที่มีสาเหตุจากโครงสร้างของเส้นเสียง
 
ที่มา
รามาธิบดีเวชสาร ปี 2562, April-June ปีที่: 42 ฉบับที่ 2 หน้า 30-37
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Voice therapy, คุณภาพชี่วิต, Voice disorders, เสียงผิดปกติ, การฝึกพูด