ฤทธิ์ลดการคัดจมูกจากของยาลอราทาดีน เฟกโซเฟนนาดีน และเซทธัยริซีนในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ชนิดเพอเรนเนียล
สมพงษ์ วาจาจำเริญ, สุกิจ รุ่งอภินันท์, สุปราณี ฟูอนันต์
Department of Pharmacology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand. Tel: 66 5394 5352
บทคัดย่อ
บทนำ: เนื่องจากผู้ป่วยภูมิแพ้ชนิดเป็นตลอดปีมีโอกาสเกิดอาการคัดจมูกได้มากกว่าผู้ป่วยภูมิแพ้ตามฤดูกาล เป็นที่ทราบกันดีว่ายาต้านฮีสตามีนมักไม่ได้ผลต่ออาการคัดจมูก แต่หลักฐานต่างๆ ในการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่ายา เซทธัยริซีน เฟกโซเฟนนาดีน หรือลอราธาดีน เหล่านี้อาจมีผลการลดอาการคัดจมูกไม่มากก็น้อย แม้หลังได้รับเพียงเม็ดแรก ดังนั้นการศึกษานี้จึงให้คะแนนอาการของผู้ป่วยร่วมกับไรโนมาโนเมททรีเพื่อศึกษาฤทธิ์การลดอาการคัดจมูกของยาเหล่านี้ออกฤทธิ์ในผู้ป่วยภูมิแพ้ชนิดเพอเรนเนียลที่ได้รับการกระตุ้นด้วยไรฝุ่น  วิธีวิจัย: หลังการคัดกรองผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ ผู้ป่วยจะได้รับการกระตุ้นโพรงจมูกโดยครั้งแรกจะใช้ความเข้มข้นที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นสามระดับจนได้อาการสูงสุด และให้ผู้ป่วยได้รับประทานยาโดยวิธีสุ่ม หลังจากนั้นจะใช้ความเข้มข้นสูงสุดกระตุ้นซ้ำทุก 30 นาที เป็นเวลา 4 ชม. คะแนนอาการคัดจมูกและความต้านทานของจมูกจะถูกประเมินทุก ๆ 10 นาทีหลังจากการกระตุ้นแต่ละครั้ง  ผลการวิจัย: จากผู้ป่วยจำนวน 45 ราย ผู้ป่วย 31 ราย (ร้อยละ 68.8) แสดงผลบวกต่อการกระตุ้นด้วยไรฝุ่น ผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับยาโดยการสุ่มดังต่อไปนี้ ลอราธาดีน 10 มก. (8 ราย) เฟกโซเฟนนาดีน 60 มก. (8 ราย), เซทธัยริซีน 10 มก. (8 ราย), หรือยาหลอก (7 ราย) พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาจริงมีแนวโน้มที่มีคะแนนอาการคัดจมูกที่ดีขึ้นแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับยาหลอก ค่าความต้านทานในจมูกในทุกกลุ่มรวมทั้งยาหลอกมีค่าลดลงจากค่าเริ่มต้น และยาต้านฮีสตามีนไม่ได้ลดความต้านทานในจมูกได้ดีไปกว่ายาหลอก จากการคำนวณกำลังของการทดสอบพบว่าได้เท่ากับ ร้อยละ 84.9 ± 8.1 และพบการแปรปรวนในข้อมูลค่อนข้างมาก น่าจะเนื่องจากวิธีการประเมินของผู้ป่วยและอาจจำเป็นต้องใช้จำนวนตัวอย่างเพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนรูปแบบเป็นแบบข้ามกลุ่ม  บทสรุป: จากผลการวิจัยเบื้องต้นไม่พบว่ายาต้านฮีสตามีนมีผลลดอาการจัดจมูกและลดความต้านทานในโพรงจมูกได้ดีไปกว่ายาหลอก แต่เนื่องจากกำลังของการทดสอบมีค่าต่ำ ผลการวิจัยจึงยังอาจต้องการการศึกษาเพิ่มเติม ในการศึกษาในอนาคตอาจจำเป็นต้องมีการปรับวิธีการประเมินอาการผู้ป่วยและอาจต้องเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่าง
ที่มา
เชียงใหม่เวชสาร ปี 2546, June ปีที่: 42 ฉบับที่ 2 หน้า 79-88
คำสำคัญ
Cetirizine, Decongestant effect, Fexofenadine, Loratadine, Nasal allergen challenge, อาการคัดจมูก, โรคภูมิแพ้ชนิดเพอเรนเนียล