ประสิทธิภาพการรักษา Shoulder impingement syndrome ด้วยการฉีดยา Triamcinolone เฉพาะทีในขนาดที่ต่างกัน
ธนิต ตันอารีย์
กลุ่มงานออร์โธปิดิค โรงพยาบาลกําแพงเพชร
บทคัดย่อ
บทนํา: Shoulder impingement syndrome เป็นโรคทีพบได้บ่อยในผู้ป่วยทีมีอาการปวดไหล่  ซึงการรักษาด้วย Subacromial corticosteroid injection ได้ผลเป็นทีน่าพอใจ  ในประเทศไทย Triamcinolone acetonide เป็นตัวหนึงทีมี การใช้กันอย่างแพร่หลาย  โดยขนาดยาทีมีการแนะนํานันแตกต่างกัน แต่ทีนิยม  คือ  20 และ 40 มิลลิกรัม วัตถุประสงค์ : เพือศึกษาเปรียบเทียบผลของการรักษา Shoulder impingement syndrome ด้วยวิธี Subacromial corticosteroid injection โดยใช้ Triamcinolone acetonide เปรียบเทียบกันระหว่างขนาด 20 และ 40 มิลลิกรัม รูปแบบการวิจัย : Prospective, Randomized controlled trial study สถานทีวิจัย : โรงพยาบาลกําแพงเพชร วิธีดําเนินการวิจัย : ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยทีเข้ารับการรักษา Shoulder impingement syndrome ด้วยวิธี Subacromial corticosteroid injection จํานวน 64 คนทีห้องตรวจผู้ป่วยนอก แผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลกําแพงเพชร ระหว่างตุลาคม 2557 ถึงมิถุนายน 2558  โดยใช้ Triamcinolone acetonide ขนาด 20 หรือ 40 มิลลิกรัม ทําการบันทึก ระดับความเจ็บปวดและหน้าทีของข้อไหล่โดยใช้  Visual Analog Scale (VAS) และShoulder Pain and Disability Index (SPADI) หลังการรักษาที 2 และ 6 สัปดาห์ ผลการวิจัย : พบว่า การรักษาด้วยTriamcinolone acetonide ขนาด 20 และ 40 มิลลิกรัมมีค่า VAS และ SPADI ที่ 2 และ 6 สัปดาห์ลดลงประมาณ 50% แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญระหว่างขนาดยาทังสองกลุ่ม ข้อยุติ : การรักษา Shoulder impingement syndrome ด้วยวิธี Subacromial corticosteroid injectionโดยใช้ Triamcinolone acetonide ขนาด 20 และ 40 มิลลิกรัมมีผลการรักษาไม่แตกต่างกัน
 
ที่มา
Kamphaeng Phet Hospital ปี 2558, July-December ปีที่: 19 ฉบับที่ 2 หน้า 1-8
คำสำคัญ
Triamcinolone acetonide, Shoulder impingement syndrome, Subacromial corticosteroid injection