การศึกษาประสิทธิภาพของการรับประทานยาไอโซซอรไบด์โมโนไนเตรท เอสอาร์เพื่อการกระตุ้นปากมดลูกให้พร้อมก่อนการชักนำาคลอดในสตรีมีครรภ์ครบกำาหนดแบบผู้ป่วยนอก
ชื่ณ เชาว์ตระกูล*, ศุภศิริ หะยะกังฉัตร์, ทุมวดี ตั้งศิริวัฒนา
Department of Obstetrics and Gynecology, Khon Kaen Hospital, Khon Kaen, 40000, Thailand, Phone: (043)336789, E-mail: b.obg.med@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการเตรียมความพร้อมของปากมดลูกก่อนการชักนำคลอดในสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ ครรภ์ตั้งแต่ 39 สัปดาห์ ที่ได้รับประทานยา ไอโซซอร์ไบด์ โมโนไนเตรท เอสอาร์ (ISMN SR) 60 มก. เหนือกว่ากลุ่มควบคุมในรูปแบบผู้ป่วยนอก
วัสดุและวิธีการศึกษา:  สตรีตั้งครรภ์อายุครรภ์ตั้งแต่ 39 สัปดาห์ และฝากครรภ์ที่ รพ.ขอนแก่น เข้าร่วมการวิจัยแบบผู้ป่วย นอก จำนวนทั้งหมด 36 คน ได้รับการสุ่มและแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับประทานยา ISMN SR 60 มก. จำนวน 18 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 18 คน จากนั้นนัดติดตามเพื่อวัดสัดส่วนความพร้อมของปากมดลูกและชักนำการคลอดหลังเข้าร่วม การวิจัย 48 ชม.
ผลการวิจัย:  ลักษณะทางประชากรศาสตร์ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม โดยกลุ่มที่ได้รับประทานยา ISMN SR มีสัดส่วนความ พร้อมของปากมดลูกมากกว่ากลุ่มควบคุม ร้อยละ 61 และ ร้อยละ 17 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p = 0.008, RR = 7.85, 95%CI 1.65-37.40) นอกจากนั้นกลุ่มที่รับประทานยามีค่าเฉลี่ยความพร้อมของปากมดลูกเพิ่ม ขึ้นและลดระยะเวลาในการเริ่มนอนโรงพยาบาลจนถึงคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.022 และ 0.002 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตามอัตราการผ่าตัดคลอด และภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกทั้งสองกลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกัน
สรุป: สตรีตั้งครรภ์ครบกำหนดที่ได้รับประทานยา ISMN SR 60 มก. มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการกระตุ้นความ พร้อมของปากมดลูกก่อนการชักนำการคลอดในสตรีตั้งครรภ์ครบกำหนดได้ในแบบผู้ป่วยนอก
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2562, January ปีที่: 27 ฉบับที่ 1 หน้า 13-21
คำสำคัญ
Induction of Labor, Cervical ripening, ผู้ป่วยนอก, Term pregnancy, isosorbide mononitrate SR, outpatient setting, ความพร้อมของปากมดลูก, ไอโซซอร์ไบด์ โมโนไนเตรท เอสอาร์, สตรีตั้งครรภ์ครบกำาหนด, การเหนี่ยวนำาคลอด