การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาทันทีระหว่างเทคนิคแอคทีฟรีลีสแบบดัดแปลงและนวดไทยต่อการเปลี่ยนแปลงอาการปวดในผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจม
เศรษฐพงศ์ หนองหารพิทักษ์, ปรีดา อารยาวิชานนท์, อุไรวรรณ ชัชวาล, ลักขณา มาทอ, อาทิตย์ พวงมะลิ, ยอดชาย บุญประกอบ*
สายวิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ: กลุ่มอาการสะบักจมเป็นพยาธิสภาพที่มีลักษณะของอาการและอาการแสดงที่เด่นชัด คือ อาการปวดบริเวณหลังส่วนบนหรือด้านหลังของข้อไหล่ร่วมกับมีจุดกดเจ็บไกบริเวณกล้ามเนื้อรอบกระดูกสะบักหนึ่งในแนวทางการรักษาที่มีการวิจัยยืนยันผลในผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจมคือการใช้หัตถบำบัด เช่น การรักษาด้วยเทคนิคแอคทีฟรีลีสแบบดัดแปลง และการนวดไทย แม้ว่าวิธีการรักษาทั้งสองวิธีมีอัตลักษณ์ของวิธีการรักษาแตกต่างกันแต่ จากการผลการศึกษาพบว่าทั้งสองวิธีให้ผลการรักษาคล้ายคลึงกันในด้านการลดปวดและเพิ่ มองศาการเคลื่อนไหวคอและไหล่ได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษา เปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างสองวิธีว่าแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
วัตถุประสงค์ :เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาทันทีระหว่างเทคนิคแอคทีฟรีลีสแบบดั ดแปลง และการนวดไทยต่อการเปลี่ยนแปลง อาการปวดในผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจม
วัสดุและวิธีการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจม จำนวน 70 ราย (เพศชาย จำนวน 16 ราย และเพศหญิง จำนวน 54 ราย) สุ่มตัวอย่างแบบภาคชั้นเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยเทคนิคแอคทีฟรีลีสแบบดัดแปลง และกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการนวดไทย เวลาที่ใช้ในการรักษาแต่ละกลุ่มคือ 30 นาที ผู้ป่วยได้รับการประเมินระดั บอาการปวด และระดั บกั้ นความเจ็บปวดก่อนการรักษาและหลังการรักษาทันที การวิ เคราะห์ผลก่อนและหลังการรักษาภายในกลุ่มใช้สถิติ paired samples t-test และการวิเคราะห์ผลความแตกต่างระหว่างกลุ่มใช้สถิติ ANCOVA โดยใช้ค่า pre-test เป็นตัวแปรร่วมในการศึกษา
ผลการศึกษา: พบว่าทั้งสองกลุ่มมีระดับอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคั ญทางสถิ ติ (p<0.05) ในขณะที่ระดับกั้นความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสำคั ญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าค่าตัวแปรทุกค่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)
สรุปผลการศึกษา: เทคนิคแอคทีฟรีลีสแบบดั ดแปลงและการนวดไทยมีผลทันทีในการลดอาการปวด และเพิ่มระดั บกั้นความเจ็บปวดในผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจมไม่แตกต่างกัน
 
ที่มา
Journal of Associated Medical Sciences ปี 2560, September ปีที่: 50 ฉบับที่ 3 หน้า 391-403
คำสำคัญ
Traditional Thai massage, การนวดไทย, Scapulocostal syndrome, modified active release technique, กลุ่มอาการสะบักจม, เทคนิคแอคทีฟรีลีสแบบดัดแปลง