การระงับปวดหลังการบริหาร Nefopam 1 หรือ 2 ครั้งสำหรับการผ่าตัดไส้ติ่ง: การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
ผกาพร ชมภูใบ*, พิชญาพร ใจบุญ, เพชรรัตน์ เตโชฬาร
แผนกวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ 53000 ประเทศไทย; e-mail: kaephaka@gmail.com
บทคัดย่อ
 บทนำ: nefopam สามารถนำมาใช้หลังผ่าตัดเพื่อเสริม การระงับปวด ขนาดที่แนะนำคือ 80 มก.ต่อวัน
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบการระงับปวดด้วย nefopam 20 และ 40 มก.หลังการผ่าตัดไส้ติ่ง
วิธีกรศึกษา: แบบไปข้างหน้าอย่างสุ่มมีกลุ่มควบคุม ในผู้ป่วย 3 กลุ่ม กลุ่ม S ได้ nefopam 20 มก. 1 ครั้ง กลุ่ม D ได้ nefopam 20 มก. 2 ครั้ง กลุ่ม C ได้ยาหลอก ผลลัพธ์หลัก คือ ปริมาณมอร์ฟีนที่ใช้ 24 ชม. ด้วยเครื่อง patient controlled analgesia (PCA) ผลลัพธ์รองคือ ระดับความปวด เวลากดยาระงับปวดครั้งแรก เวลาลุกจากเตียงครั้งแรกและ ผลข้างเคียง
ผลกรศึกษา: ผู้ป่วย 30 รายต่อกลุ่ม กลุ่ม S,D,C มีปริมาณ มอร์ฟีนที่ใช้ 24 ชม.คือ 21.07, 22.93 และ 27.90 มก. ตาม ลำดับ (p=0.213) กลุ่ม S และ D ใช้มอร์ฟีนน้อยกว่ากลุ่ม C ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 18 หลังการผ่าตัด ระดับความปวด เวลากดยา ระงับปวดครั้งแรก และความพึงพอใจไม่ต่างกัน กลุ่ม S, D, C ลุกจากเตียง (เดิน) ครั้งแรกที่เวลา 11.63 ± 5.16,13.53 ± 5.68, 17.57 ± 6.39 ชม. ตามลำดับ (p=0.0005) tachycardia เป็น ผลข้างเคียงที่พบเฉพาะกลุ่ม S และ D คือร้อยละ 20 และ 3.33 ตามลำดับ (p=0.015)
สรุป: nefopam 20 และ 40 มก.หลังการผ่าตัดไส้ติ่ง ลดการ ใช้มอร์ฟีนอย่างไม่มีนัยสำคัญ แต่ผู้ป่วยลุกจากเตียงได้เร็ว ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ tachycardia
 
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2562, January-March ปีที่: 45 ฉบับที่ 1 หน้า 27-33
คำสำคัญ
Appendectomy, การผ่าตัดไส้ติ่ง, การระงับปวดหลังผ่าตัด, Postoperative pain control, nefopam