ประสิทธิภาพของการปรับยาขับปัสสาวะที่บ้านโดยผู้ป่วย เปรียบเทียบกับการปรับยาขับปัสสาวะโดยแพทย์ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่รักษาแบบผู้ป่วยนอก
สราวุฒิ ธนสมบูรณ์พันธุ์
กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี
บทคัดย่อ
ที่มาของปัญหา : การใช้ยาขับปัสสาวะลดอาการจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้ การปรับยาขับปัสสาวะ
ด้วยตนเองที่บ้านยังเป็นเรื่องใหม่
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาว่าการปรับยาขับปัสสาวะที่บ้าน เปรียบเทียบกับการรักษาตามปกติมีความแตกต่างกันหรือไม่
วัสดุและวิธีการ : การวิจัยชนิด RCT ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยหัวใจล้มเหลวที่ปรับยาขับปัสสาวะ
ที่บ้าน (กลุ่มศึกษา) เปรียบเทียบกับการปรับยาโดยแพทย์ที่โรงพยาบาล (กลุ่มควบคุม) เป็นเวลา 6 เดือน
ผลการศึกษา : รวบรวมผู้ป่วย 91 รายใน 1 ปี แบ่งเป็นผู้ป่วยในกลุ่มศึกษา 45 ราย พบว่ามีการมา
พบแพทย์ที่โรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่แผนกผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉิน จำ นวน 18 ครั้ง
ในผู้ป่วย 10 ราย เทียบกับกลุ่มควบคุม จำ นวน 11 ครั้ง ในผู้ป่วย 10 ราย (p = 0.352) ในกลุ่มศึกษา พบว่ามีการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 8.8) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม มีการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว จำนวน 10 ราย (ร้อยละ 21.7) (p =0.042) ในกลุ่มศึกษาไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตเทียบกับกลุ่มควบคุม มีผู้ป่วยเสียชีวิต 5 ราย (ร้อยละ 10.9) (p = 0.014) สรุป : ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีการมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลนอกเหนือจากการนัดหมายไม่แตกต่างกัน กลุ่มศึกษาพบว่ามีจำ นวนผู้ป่วยที่มานอนโรงพยาบาลด้วยอาการน้ำท่วมปอด และอัตราการเสียชีวิต ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัย
สำ คัญทางสถิติ โดยผลข้างเคียง ไม่แตกต่างกันในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม
 
ที่มา
วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปี 2561, October-December ปีที่: 35 ฉบับที่ 4 หน้า 344-354
คำสำคัญ
Diuretic, หัวใจล้มเหลว, Heart failure, ยาขับปัสสาวะ, self-adjustment, office-adjusted, ปรับยา, การนอนโรงพยาบาล