ประสิทธิภาพของการรักษาแบบรับประทานครั้งเดียวด้วยาไดเอทธิลคาร์บามาซีนขนาด 300 มิลลิกรัม และร่วมกับยาอัลเบนดาโซลขนาด 400 มิลลิกรัมในการลดแอนติเจนของเชื้อหนอนพยาธิเท้าช้างชนิดวูเชอริเรีย แบนครอฟไต และเชื้อหนอนพยาธิติดต่อทางดินในผู้อพยพชาวพม่าในภาคใต้ของประเทศไทย
นงนุช จตุราบัณฑิต, พิสิฐ ยงยุทธ, สุรชาติ โกยดุลย์, อดิศักดิ์ ภูมิรัตน์*, อนุชา เสมพืช
Department of Parasitology, Faculty of Health, Mahidol University, 420/1 Rajvithi Rd, Bangkok 10400, Thailand. Phone: 0-2644-5130, 0-2354-8543-9 ext 1202, Fax: 0-2644-5130, E-mail: phabr@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
ที่มา: ประสิทธิผลของการรักษากลุ่มหนอนพยาธิด้วยยาไดเอทธิลคาร์บามาซีน (DEC) และยาอัลเบนดาโซล (ABZ) มีผลต่อการลดระดับความชุกของการติดเชื้อหนอนพยาธิเท้าช้างชนิด Wuchereria bancrofti และเชื้อหนอนพยาธิติดต่อทางดินในกลุ่มแรงงานชาวพม่าอพยพในประเทศไทย ผลการออกฤทธิ์ของยาต่อการควบคุมปริมาณเชื้อหนอนพยาธิ จำเป็นต้องได้รับการศึกษาเนื่องจากแรงงานเหล่ านี้พำนักอาศัยในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ และสถานการณ์ การติดเชื้อหนอนพยาธิในปัจจุบันนั้นเป็นการติดเชื้อ W. bancrofti ระยะปรากฏแอนติเจน และการติดเชื้อร่วมของเชื้อหนอนพยาธิ ติดต่อทางดินวัตถุประสงค์: ประเมินประสิทธิภาพของการรักษาแบบรับประทานครั้งเดียวด้วยยา DEC ขนาด 300 มิลลิกรัม (มก.) (สำหรับเชื้อก่อโรคเท้าช้าง) ร่วมกับยา ABZ ขนาด 400 มก. (สำหรับเชื้อก่อโรคหนอนพยาธิ) โดยเปรียบเทียบกับยาDEC ขนาด 300 มก. เพียงชนิดเดียว เพื่อวิเคราะห์การออกฤทธิ์ ของยาในระยะสั้นต่อการลดปริมาณแอนติเจนของเชื้อหนอนพยาธิเท้าช้าง (WbAg) และการลดปริมาณไข่ของเชื้อหนอนพยาธิติดต่อทางดิน (GhE)วัสดุและวิธีการ: การทดลองควบคุมแบบสุ่มของการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาในแรงงานชาวพม่า เพศชายจำนวน 28 ราย (DEC/ABZ หรือกลุ่มที่หนึ่ง เท่ากับ 15 ราย และ DEC หรือกลุ่มที่สอง เท่ากับ 13 ราย) ในจังหวัดพังงาภาคใต้ของประเทศไทย การติดตามประเมินผลในสัปดาห์ที่ 2, 4, 8 และ 12 ได้ดำเนินการในกลุ่มที่หนึ่ง จำนวน 15 ราย มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 25.7 ปี และปริมาณเชื้อหนอนพยาธิ (ค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน x 103) ของเชื้อ W. bancrofti, Ascaris และ Trichuris เท่ากับ 96.1 ± 54.6 antigen units (AU)/มล., 397.0 ± 117.3 eggs per gram (EPG) และ 54.5 ± 42.8 EPG ตามลำดับ ในกลุ่มที่สอง จำนวน 10 ราย (ถอนตัวจากการศึกษา 3 ราย) มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 26.4 ปี ปริมาณเชื้อหนอนพยาธิ เท่ากับ 103.9 ± 44.1 AU/มล., 47.3 ± 38.7 EPG และ 16.6 ± 22.2 EPG ตามลำดับ และใช้ข้อมูลอัตราการลดลงของปริมาณแอนติเจนหรือค่า ARR และอัตราการลดลง ของปริมาณไข่หรือค่าERR ในการนำเสนอผลการศึกษา: หลังการรักษาในสัปดาห์ที่ 12 กลุ่มที่หนึ่งมีปริมาณ WbAg (ค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน x 103 AU)/มล.) เท่ากับ 61.5 ± 58.4 และเท่ากับ 76.8 ± 40.7 ในกลุ่มที่สอง ในสัปดาห์ที่ 8 และ 12 ทั้งสองกลุ่มมีการลดปริมาณ WbAg อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในทำนองเดียวกัน หลังจากสัปดาห์ที่ 2 มีการลดลงของปริมาณ GhE ของทั ้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการรักษาทั้งสองขนานในช่วงเวลาที่มีติดตามการรักษา พบว่า ทั้งสองกลุ่มมี การออกฤทธิ์ ฆ่าเชื้อหนอนพยาธิ ตัวแก่ไม่ว่าต่อการลดปริมาณ WbAg หรือแสดงโดยค่า ARR (F = 0.064, p = 0.806) หรือต่อการลดปริมาณ GhE หรือแสดงโดยค่า ERR (F = 0.196, p = 0.669)สรุป: การรักษาแบบรับประทานครั้งเดียวด้วยยา DEC ขนาด 300 มก. ร่วมกับยา ABZ ขนาด 400 มก. หรือยา DEC ขนาด 300 มก. เพียงชนิดเดียว มีประสิทธิผลในการรักษาการติดเชื้อ W. bancrofti และเชื้อหนอนพยาธิติดต่อทางดินซึ่งพบได้บ่อยในกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ศึกษา แต่การกำจัดการติดเชื้อย่อมต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องเป็นรอบ ๆ การลดลงของปริมาณเชื้อหนอนพยาธิในกลุ่มแรงงานชาวพม่าที่ขึ้นทะเบียนแรงงานสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ในการกำกับ ติดตามและประเมินประสิทธิผลของการรักษากลุ่มด้วยยา DEC/ABZ ในระดับจังหวัด
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, August ปีที่: 89 ฉบับที่ 8 หน้า 1237-1248
คำสำคัญ
Albendazole, Diethylcarbamazine, Geohelminths, Myanmar migrants, Wuchereria bancrofti