การประเมินอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะลุกลาม ณ โรงพยาบาลสุรินทร์
นุชจริน ยินดี*, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ
ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 ; E-mail: nootchy_rin@hotmail.co.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยโรคมะเร็งลาไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะลุกลาม วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาที่เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนร่วมกับสัมภาษณ์ข้อมูลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในช่วงมีนาคม 2560 ถึงสิงหาคม 2560 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยชาวไทยอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี ที่มารับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยผู้ป่วยทราบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็ง ไม่มีปัญหาการรับรู้และการสื่อสาร และยินดีเข้าร่วมการศึกษา การเก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตใช้เครื่องมือ EQ-5D-5L (The European Quality of Life Measure-5 Domain) ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 65 ราย อายุเฉลี่ย 59.3±12.2 ปี เป็นผู้ป่วยที่ยังไม่มีการดาเนินไปของโรค (progression free) 51 ราย สูตรเคมีบาบัดที่มีการสั่งใช้บ่อยคือ FOLFIRI 16 ราย, FOLFOX4 14 ราย, mFOLFOX6 12 ราย และเป็นผู้ป่วยที่มีการดาเนินไปของโรค (progression) 14 ราย โดย 11 รายได้รับเคมีบาบัด และ 3 รายได้รับการรักษาแบบประคับประคอง การประเมินมิติสุขภาพทั้ง 5 ด้านโดย EQ-5D-5L พบว่า ผู้ป่วยที่ยังไม่มีการดาเนินไปของโรคที่ได้รับยาเคมีบาบัดทุกสูตร และผู้ป่วยที่มีการดาเนินไปของโรคที่ได้รับยาเคมีบาบัดส่วนใหญ่ตอบว่าไม่มีปัญหาถึงมีปัญหาเล็กน้อยในการทากิจกรรมที่ถามในแบบสอบถาม EQ-5D-5L ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีการดาเนินไปของโรคที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองมีปัญหาอย่างมากถึงมากที่สุดในทุกมิติ สาหรับผู้ป่วยที่ยังไม่มีการดาเนินไปของโรคพบว่า ค่ามัธยฐานของค่าอรรถประโยชน์ในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบาบัดสูตร FOLFIRI, mFOLFOX6, FOLFOX4, เท่ากับ 0.88, 0.86, 0.79 คะแนน ตามลาดับ สาหรับผู้ป่วยที่มีการดาเนินไปของโรค พบว่า ค่ามัธยฐานของค่าอรรถประโยชน์ในผู้ที่ได้รับเคมีบาบัดเท่ากับ 0.87 ในขณะที่ค่ามัธยฐานของค่าอรรถประโยชน์ในผู้ที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองเท่ากับ -0.28 คะแนน สรุป: ในผู้ป่วยมะเร็งลาไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะลุกลามที่ยังไม่มีการดาเนินไปของโรค คุณภาพชีวิตในแง่ของอรรถประโยชน์ในผู้ที่ได้รับสูตรยา FOLFIRI, mFOLFOX6, FOLFOX4 อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน (0.79-0.88) ในผู้ป่วยที่มีการดาเนินไปของโรค พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองมีคะแนนอรรถประโยชน์ต่ามากเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบาบัด ข้อมูลค่าอรรถประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนาไปใช้ในแบบจาลองการประเมินความคุ้มค่าของทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งลาไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะลุกลามในอนาคตได้
 
ที่มา
วารสารเภสัชกรรมไทย ปี 2562, January-March ปีที่: 11 ฉบับที่ 1 หน้า 137-145
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Utility, Colorectal cancer, คุณภาพชี่วิต, อรรถประโยชน์, มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง