ผลของการนวดไทยที่เท้าด้วยตนเองต่อการเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อเท้าและนิ้วหัวแม่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความผิดปกติของปลายประสาท
กวิตา จรัสรังสีชล, อุไรวรรณ ชัชวาล*, วนิดา ดรปัญญา, วิชัย อึงพินิจพงศ์, เสาวนีย์ นาคมะเร็ง
กลุ่มวิจัยปวดหลัง ปวดคอ และปวดข้ออื่นๆ และสมรรถนะของมนุษย์ (BNOJPH) เทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยเบาหวานที่มีความผิดปกติของปลายประสาทอาจส่งผลให้มุมการเคลื่อนไหวของเท้าลดน้อยลง การศึกษานี้ต้องการทราบผลของการนวดไทยที่เท้าด้วยตนเองในการเพิ่มมุมการเคลื่อนไหว โดยศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความผิดปกติของปลายประสาทจำ นวน 25 คน อาสาสมัครได้รับการสุ่มเพื่อรับการรักษาออกเป็น 2 ลำ ดับคือ 1) นวดไทยที่เท้าด้วยตนเอง (STFM) ก่อนการนวดเท้าโดยหมอนวด (FM) และ 2) นวด FM ก่อน นวด STFM หลังการรักษาทันทีวัดมุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้าและนิ้วหัวแม่เท้าด้วยการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง (active) และผู้อื่นทำให้ (passive) โดยใช้โปรแกรม Kinovea ผลการศึกษาพบว่าการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองการรักษา (p<0.05) แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองการรักษาพบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น การนวดไทยที่เท้าอาจเป็นทางเลือกหนึ่งของการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความผิดปกติของปลายประสาท
 
ที่มา
๋Journal of Medical Technology and Physical Therapy ปี 2561, May-August ปีที่: 30 ฉบับที่ 2 หน้า 131-145
คำสำคัญ
ผู้ป่วยเบาหวาน, Diabetic patients, Foot massage, Rang of motion, นวดเท้า, องศาการการเคลื่อนไหว