การเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลกับระบบการจ่ายเงินคืนแบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (ดีอาร์จี) และผลลัพธ์จากการรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนถ่ายพลาสมาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
ศิริเกษม ศิริลักษณ์*, ภัทรวีร์ ดามี
ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลลัพธ์ผู้ป่วยที่ได้รับ การรักษาด้วยวิธีเปลี่ยนถ่ายพลาสมา ช่วงธันวาคม พ.ศ. 2554 - เมษายน พ.ศ.2558 ผลการศึกษา มีผู้ป่วย 25 คน ร้อยละ 64 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.2 ± 16.3 ปี เปลี่ยนถ่ายพลาสมารวม 120 ครั้ง วันนอนเฉลี่ย 20.2 ± 16.9 วัน ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย Thrombotic Throbocytopenic Purpura 15 คน Neuromyelitis Optica 4 คน Anti-Glomerular Basement Membrane disease 2 คน Guillain Barre Syndrome 2 คน และ Hyperthyroid 2 คน ค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนถ่ายพลาสมา 4.80 ±  2.27 ครั้ง ร้อยละ 60 ได้รับ Fresh Frozen Plasma เป็น สารน้ำทดแทน พบภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ร้อยละ 24 และมีผู้ป่วยเสียชีวิตร้อยละ 20 ซึ่งมี สาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อ (ไม่สัมพันธ์กับภาวะ แทรกซ้อนของการเปลี่ยนถ่ายพลาสมาแบบเฉียบพลัน) ค่าใช้จ่ายของการรักษาพยาบาลเฉลี่ย 254,255.46 ± 166,876.26 บาทต่อคน ค่าเฉลี่ยของ adjusted relative weight คือ 17.08+11.33 ต่อคน และหาก เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลกับเงินที่ได้รับ กลับคืนมาจากกองทุนมีค่าเฉลี่ยการขาดทุนในผู้ป่วย จำนวน 16 คน คือ 167,594.32 ±  32,760.76 บาท ต่อคน โดยรวมแล้ว โรงพยาบาลขาดทุนทั้งสิ้น 1,340,037.06 บาท สรุปได้ว่า โรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่เป็นศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยใช้การเบิกจ่ายเงินด้วยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมต้องเผชิญกับการขาดทุน ดังนั้น ควรมีนโยบายระดับประเทศในการจ่ายเงินเพิ่มให้กับโรงพยาบาลเพื่อทำให้เชื่อมั่นได้ว่าผู้ป่วยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายสูงได้อย่างเท่าเทียม
 
ที่มา
วารสารจักษุสาธารณสุข ปี 2561, September-December ปีที่: 48 ฉบับที่ 3 หน้า 398-405
คำสำคัญ
Outcome, ผลลัพธ์, Hospital Care Cost, therapeutic plasma exchange, diagnosis related group, ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล, การรักษาด้วยวิธีเปลี่ยนถ่ายพลาสมา, กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม