คุณภาพชีวิตและค่าอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกไต
ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช*, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ, สุรัชดา ธนโสภณ, วนรัตน์ อนุสรณ์เสงี่ยม, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป, อมฤต สุวัฒนศิลป์, ธนชัย พนาวุฒิ, ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย, สุพล ลิมวัฒนานนท์, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์
กลุ่มวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 โทรศัพท์ 043-754-360 โทรสาร 043-754-360 Email: tananan.r@msu.ac.th
บทคัดย่อ
จำนวนผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การบาบัดทดแทนไตเป็นการรักษาที่ช่วยยืดระยะเวลารอดชีวิตของผู้ป่วย การศึกษาที่วัดคุณภาพชีวิตในแง่อรรถประโยชน์ ยังมีค่อนข้างจำกัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตและอรรถประโยชน์ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis, HD) และล้างไตทางช่องท้อง (peritoneal dialysis, PD) วิธีการดำเนินการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน 2560 ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ที่มารับบริการต่อเนื่องที่คลินิกโรคไตของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2 แห่ง และมีอาการคงที่อย่างน้อย 6 เดือน และเกณฑ์การคัดออก คือ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ ลูปัส กลุ่มอาการเนโฟรติก มะเร็ง ข้อมูลทางคลินิกได้จากการทบทวนเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วย ณ วันที่ผู้ป่วยมารับบริการที่คลินิกโรคไต โดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต The European Quality of Life Measure-5 Domain-5-Level (EQ-5D-5L) และแปลงค่าเป็นอรรถประโยชน์ และ visual analog scale (VAS) วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ไม่มีปัญหาเทียบกับมีปัญหาเล็กน้อยถึงมากที่สุด ในแต่ละมิติโดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม PD เทียบกับ HD ด้วยสถิติ Logistic regression analysis (adjusted odds ratio) ผลการวิจัย: จำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษาที่ได้รับการทำ HD 42 ราย และมีอายุเฉลี่ย 62 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (ร้อยละ 57) และ PD 46 ราย อายุเฉลี่ย 56 ปี เกือบทุกรายเป็นผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 96) กลุ่ม HD มีระยะเวลาตั้งแต่ได้รับวินิจฉัยจนถึงปัจจุบัน ยาวนานกว่ากลุ่ม PD โดยมีค่ามัธยฐาน 7 ปี (พิสัยควอไทล์ 4-10 ปี) และ 4 ปี (พิสัยควอไทล์ 3-6 ปี) ตามลาดับ โรคร่วมที่พบบ่อยในทั้งสองกลุ่ม คือ ความดันโลหิตสูง รองลงมาคือ เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ค่าเฉลี่ยคะแนนอรรถประโยชน์ และ visual analog scale ของกลุ่ม HD มีค่า 0.81 (SD 0.17) และ 70.2 (SD 19.2) สาหรับกลุ่ม PD มีค่า 0.83 (SD 0.23) และ 69.9 (SD 18.9) ตามลาดับ มิติที่ผู้ป่วยกลุ่ม HD ส่วนใหญ่ระบุว่ามีปัญหา คือ การเคลื่อนไหว (ร้อยละ 60) ความเจ็บป่วย/ความไม่สุขสบาย (ร้อยละ 60) สาหรับผู้ป่วย PD พบว่ามิติที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ระบุว่ามีปัญหา คือ ความวิตกกังวล/ความซึมเศร้า (ร้อยละ 53) ความเจ็บป่วย/ความไม่สุขสบาย (ร้อยละ 52) ผลการวิเคราะห์ odds ratio ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันในการระบุคุณภาพชีวิตที่ไม่มีปัญหาเทียบกับมีปัญหาเล็กน้อยถึงมากที่สุด ในทุกมิติเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม PD กับ HD สรุปผลการวิจัย: คุณภาพชีวิตและค่าอรรถประโยชน์ของผู้ป่วย HD และ PD ใกล้เคียงกัน ความเจ็บปวด/ไม่สุขสบาย เป็นมิติที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ผลการศึกษาสามารถนาไปปรับใช้ในงานวิจัยที่ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
 
ที่มา
วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปี 2561, October-December ปีที่: 14 ฉบับที่ 4 หน้า 88-98
คำสำคัญ
Hemodialysis, Quality of life, คุณภาพชีวิต, ล้างไตทางช่องท้อง, ไตวายระยะสุดท้าย, Utility, Peritoneal dialysis, คุณภาพชี่วิต, end stage renal disease, อรรถประโยชน์, ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม