ต้นทุนประสิทธิผลยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์เทียบกับสมุนไพรเถาวัลย์เปรียงในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
นริศรา จริตงาม*, อัญชลี เพิ่มสุวรรณกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข โรงพยาบาลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง 52210 E-mail: naris_jm@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินต้นทุนประสิทธิผลระหว่างการใช้สารสกัดเถาวัลย์เปรียงเทียบกับการใช้ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs ) ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม วิธีการวิจัย: การศึกษาเป็นการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ที่ใช้แบบจาลองแผนภูมิต้นไม้ร่วมกับแบบจาลองมาร์คอฟในมุมมองทางสังคม เพื่อเปรียบเทียบระหว่างการใช้สารสกัดเถาวัลย์เปรียงเทียบกับการใช้ NSAIDs กรอบเวลาในการวิเคราะห์ คือ ตลอดอายุขัยของผู้ป่วย ต้นทุนที่ศึกษาได้แก่ต้นทุนการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมและต้นทุนการรักษาผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารซึ่งได้จากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลลาปาง โดยปรับต้นทุนให้อยู่ในค่าของปี 2560 ข้อมูลอรรถประโยชน์และข้อมูลความน่าจะเป็นได้จากการทบทวนวรรณกรรม การศึกษาวัดประสิทธิผลในรูปของปีสุขภาวะ และคานวณอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม การวิจัยปรับลดต้นทุนและประสิทธิผลด้วยอัตราลดร้อยละ 3 การวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียวของทุกตัวแปรแสดงผลในรูป tornado diagram ส่วนการวิเคราะห์ความไวแบบอาศัยความน่าแสดงผลในรูประนาบต้นทุนประสิทธิผลและระดับความคุ้มค่าที่ยอมรับได้ ผลการศึกษา: สารสกัดเถาวัลย์เปรียงให้ปีสุขภาวะสูงกว่า NSAIDs คือ 0.256 และ 0.250 ปีตามลาดับ แต่มีต้นทุนรวมที่สูงกว่าคือ 4,498 บาทและ 3,615 บาท ตามลาดับ สารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มเท่ากับ 138,232 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ NSAIDs ผลจากการวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียวพบว่า อัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่ออรรถประโยชน์ของการเกิดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารแบบไม่รุนแรงมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนผลการวิเคราะห์ความไวแบบอาศัยความน่าจะเป็นพบว่า ที่ระดับความเต็มใจที่จะจ่าย 160,000 บาทต่อหนึ่งปีสุขภาวะ ทางเลือกสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีโอกาสคุ้มค่ามากกว่าร้อยละ 56 และที่ระดับความเต็มใจที่จะจ่ายต่ากว่า 135,000 บาทต่อหนึ่งปีสุขภาวะ NSAIDs เป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียง โดยที่ถ้าเพิ่มระดับความเต็มใจที่จะจ่ายสูงกว่า135,000 บาทต่อหนึ่งปีสุขภาวะจะทาให้สารสกัดเถาวัลย์เปรียงเกิดความคุ้มค่า สรุป: สารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีความคุ้มค่าในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่ระดับความเต็มใจที่จะจ่ายที่ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ ภายใต้ข้อตกลงเบื้องต้นที่ใช้ในการศึกษา
ที่มา
วารสารเภสัชกรรมไทย ปี 2562, January-March
ปีที่: 11 ฉบับที่ 1 หน้า 128-141
คำสำคัญ
cost-effectiveness, osteoarthritis, Non-steroidal anti-inflammatory drugs, เถาวัลย์เปรียง, โรคข้อเข่าเสื่อม, ต้นทุนประสิทธิผล, Derris scandens, ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์