ผลของการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยวัณโรคปอดของโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี
นิสารัตน์ คำด้วง*, ศุภวรรณ พงศ์พัฒนาวุฒิ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 65000 E-mail: nannisan310@gmail.com:
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการรักษาในผู้ป่วยวัณโรคปอดระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 ระหว่างเดือนเมษายน 2559 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2559 ผู้เข้าร่วมการศึกษา 102 คนเป็นกลุ่มที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม (กลุ่มทดลอง) แบ่งเป็นผู้ป่วยในระยะการรักษาแบบเข้มข้น 49 คน และในระยะต่อเนื่อง 53 คน และกลุ่มที่ไม่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม 79 คน (กลุ่มควบคุม) ที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนย้อนหลัง การศึกษาใช้การสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริบาลเภสัชกรรม ปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วย และคุณภาพชีวิตก่อนและหลังให้บริบาลเภสัชกรรม การประเมินคุณภาพชีวิตใช้แบบประเมินขององค์การอนามัยโลกฉบับย่อ (WHOQOL-BREF หรือ WHOQOL-26) ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีผลเสมหะเป็นลบเมื่อสิ้นสุดการรักษาเดือนที่ 2 มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P< 0.05) ในกลุ่มทดลองพบปัญหาจากการรักษาด้วยยาทั้งหมด 115 ปัญหา สามารถแก้ปัญหาได้ 92 ปัญหา (ร้อยละ 80) ปัญหาจากการรักษาด้วยยาที่พบมากที่สุด คือ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (54 ปัญหาหรือร้อยละ 47) สรุป: การให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยวัณโรคปอดทาให้ผลลัพธ์ของการรักษาดีขึ้น ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยาและสามารถแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 
ที่มา
วารสารเภสัชกรรมไทย ปี 2561, July-December ปีที่: 10 ฉบับที่ 2 หน้า 345-355
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Pulmonary Tuberculosis, วัณโรคปอด, Pharmaceutical care, คุณภาพชี่วิต, drug related problem, การบริบาลเภสัชกรรม, ปัญหาการใช้ยา