การบริบาลทางเภสัชกรรมและจ่ายยาต่อเนื่องสาหรับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ในร้านยามหาวิทยาลัย
วิลาวัณย์ ทุนดี, ปวิตรา พูลบุตร, สายทิพย์ สุทธิรักษา, ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ, ปาริโมก เกิดจันทึก, สมคิด เจนกลาง, วนรัตน์ อนุสรณ์เสงี่ยม, รจเรศ หาญรินทร์*
หน่วยวิจัยเภสัชกรรมคลินิก กลุ่มวิิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การบริบาลทางเภสัชกรรมและจ่ายยาต่อเนื่องที่ร้านยากับการรับบริการที่โรงพยาบาล วิธีการ: การศึกษาเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลขนาด 444 เตียงแห่งหนึ่ง ตัวอย่างเป็นผู้เลือกเองว่าจะร่วมการวิจัยในกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองจานวน 59 คน ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมและรับยาต่อเนื่องที่ร้านยาโดยเภสัชกร กลุ่มควบคุมจานวน 59 คน ได้รับบริการตามปกติที่คลินิกพิเศษของโรงพยาบาล การศึกษาประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก (HbA1C, BUN, and serum creatinine) ผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์ (ค่าใช้จ่ายด้านยา) และผลลัพธ์ทางมานุษยวิทยา (คุณภาพชีวิต) ก่อนและหลังการแทรกแซง 1 ปี การศึกษาประเมินคุณภาพชีวิตด้วยแบบวัด SF-36 ผลการวิจัย: เมื่อสิ้นสุดงานวิจัยเหลือผู้เข้าร่วมวิจัยกลุ่มละ 32 คน เนื่องจากตัวอย่างย้ายไปรับบริการที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน ย้ายภูมิลาเนา หรือถูกส่งกลับไปรักษาที่โรงพยาบาล ลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มก่อนการทดลอง ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติในด้านเพศ ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน สถานภาพสมรส และโรคประจาตัว แต่อายุและระดับการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ หลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีค่า HbA1C ต่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ BUN ไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม ค่า serum creatinine ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ผลประเมินคุณภาพชีวิตพบว่า การรับรู้สุขภาพทั่วไปของกลุ่มทดลองดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ด้านค่าใช้จ่ายด้านยา พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าใช้จ่ายด้านยาน้อยกว่า และมีจานวนครั้งที่พบเภสัชกรมากกว่ากลุ่มควบคุม สรุป: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การให้บริบาลทางเภสัชกรรมและจ่ายยาต่อเนื่องโดยเภสัชกรในร้านยาช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 มีผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านยาอีกด้วย การบริบาลทางเภสัชกรรมและจ่ายยาต่อเนื่องในร้านยาโดยเภสัชกรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวานในการมารับบริการในอนาคต
 
ที่มา
วารสารเภสัชกรรมไทย ปี 2560, January-June ปีที่: 9 ฉบับที่ 1 หน้า 192-203
คำสำคัญ
Type 2 diabetes, Pharmaceutical care, Pharmacy, ร้านยา, บริบาลทางเภสัชกรรม, prescription refill, ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2, การจ่ายยาต่อเนื่อง