ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายต่ออาการชา และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่ได้รับยาเคมีบำบัด
เพลินพิศ ธรรมนิภา, นันทนา ธนาโนวรรณ*, รพีพรรณ อุปการ, บุญเลิศ วิริยะภาค
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 e-mail: nanthana.tha@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายต่ออาการชาและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่ได้รับยาเคมีบำบัด
รูปแบบการวิจัย: วิจัยแบบกึ่งทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งรังไข่จำนวน 86 คนที่ได้รับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแหง่ หนงึ่ โดยแบง่ เปน็ กลมุ่ ควบคมุ และกลมุ่ ทดลองกลมุ่ ละ 43 คน ทงั้ สองกลุ่มได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายประกอบด้วย การทบทวนความรู้การบริหารมือและขาเป็นรายบุคคลพร้อมแผ่นซีดีให้นำไปฝึกปฏิบัติต่อเนื่องที่บ้าน การให้ความรู้เกี่ยวกับอาการชาและคู่มือการดูแลตนเอง และการใช้อุปกรณ์กระตุ้นประสาทสัมผัสบริเวณมือและเท้า เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามอาการชาและแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งก่อนและหลังได้รับโปรแกรมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 วิคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบค่าที สถิติไคสแคว์ และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัย: ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยของคะแนนอาการชา (F = .52, p = .473) และคณุ ภาพชวี ติ (F = .93, p = .385) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแต่เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ ในกลุ่มทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนอาการชาก่อนและหลังได้รับโปรแกรมครั้งที่ 1 (mean difference = 4.64, p = .002) และค่าเฉลี่ยของคะแนนอาการชาก่อนและหลังได้รับโปรแกรมครั้งที่ 2 (mean difference = 6.28, p < .001) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ในกลุ่มทดลองมีอาการชาไม่เพิ่มขึ้นใน
การประเมินทั้งสองครั้ง การวิจัยในอนาคตจึงควรประเมินอาการชาทุก 3 สัปดาห์เพื่อทราบรูปแบบของผลกระทบดังกล่าว ผลการวิจัยครั้งนี้ช่วยให้พยาบาลเข้าใจปัญหาและพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ป้องกันอาการชาในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดต่อไป
 
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2561, April-June ปีที่: 36 ฉบับที่ 2 หน้า 42-53
คำสำคัญ
Quality of life, chemotherapy, คุณภาพชีวิต, อาการชา, Exercise program, Peripheral Neuropathy, ยาเคมีบำบัด, คุณภาพชี่วิต, โปรแกรมการออกกำลังกาย, ovarian cancer, มะเร็งรังไข่