ผลของยาชาชนิดพ่นลิโดเคนในการบรรเทาความเจ็บปวดขณะทำการเก็บเยื่อบุโพรงมดลูก: การศึกษาแบบสุ่ม
มณีนุช ศรีผา, ชื่นกมล ชรากร, นวนลล์ เล็กสกุล*, อาบอรุณ เลิศขจรสุข
Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University; Bangkok 10400, Thailand. Phone: +66-2-2011412, E-mail: navamoll@yahoo.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการพ่นยาลิโดเคนที่ปากมดลูกในการลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยที่เข้ารับการเก็บเยื่อบุโพรงมดลูกส่งตรวจด้วยเครื่องมือ Endosampler
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบสุ่ม โดยเปรียบเทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยทั้งหมด 100 ราย ที่เข้ารับการเก็บเยื่อบุโพรงมดลูกส่งตรวจ โดยสุ่มผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับการพ่นลิโดเคน (50 ราย) อีกกลุ่มหนึ่งได้รับยาหลอก (50 ราย) การประเมินคะแนนความเจ็บปวดทำโดยใช้ visual analog scale ใน 3 ช่วงเวลา ได้แก่ หลังใส่ speculum ขณะสอด cannula และ หลังถอด speculum ความพึงพอใจต่อการทำหัตถการประเมินโดยผู้ป่วยและแพทย์ผู้ทำหัตถการโดยใช้ 5 point Likert scale
ผลการศึกษา: แพทย์สามารถทำหัตถการได้สำเร็จในผู้ป่วยทั้งหมด 100 ราย ค่ามัธยฐานของคะแนนความเจ็บปวดขณะสอด cannula ในกลุ่ม lidocaine คือ 5 (0-10) ซึ่งตํ่ากว่าค่ามัธยฐานของคะแนนความเจ็บปวดขณะสอด cannula ในกลุ่มยาหลอกคือ 5.5 (0-10) แต่ไม่มีมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value 0.78)
สรุป: การพ่นยาลิโดเคนที่ปากมดลูกก่อนการทำหัตถการเก็บเยื่อบุโพรงมดลูกส่งตรวจ ไม่สามารถลดความเจ็บปวดจากหัตถการดังกล่าวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2561, July ปีที่: 26 ฉบับที่ 3 หน้า 190-197
คำสำคัญ
pain score, Randomized controlled trial, Endometrial biopsy, คะแนนความเจ็บปวด, lidocaine spray, การเก็บเยื่อบุโพรงมดลูก, ยาพ่นลิโดเคน, การศึกษาแบบสุ่ม