ประสิทธิภาพของยาพาราเซตามอลแบบกินและเหน็บก้นในขนาดยาที่เท่ากันต่อการลดไข้ในผู้ป่วยเด็ก: วิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม ควบคุมกลุ่มตัวอย่าง
อรวรรณ จิรชาญชัย
แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ
บทนำ : ไข้เป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กและทำให้ผู้ปกครองต้องพาเด็กมาตรวจรักษาการลดไข้ที่มี
ประสิทธิภาพช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากไข้เช่น ชักจากไข้สูง พาราเซตามอลเป็นยาลดไข้ที่ใช้มากที่สุด
ในเด็กสามารถใช้ในรูปแบบยากินและยาเหน็บก้น ในผู้ป่วยเด็กบางคนมีปัญหาเรื่องการกินยายากการนำ
ยาลดไข้แบบเหน็บก้นมาใช้สามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ มีการศึกษาเรื่องประสิทธิภาพของยาพาราเซตามอล
แบบกินและแบบเหน็บก้นหลายการศึกษาบางการศึกษาพบว่าขนาดยาพาราเซตามอลแบบเหน็บก้น
15 มก/กก ยังไม่เพียงพอต่อการรักษาแต่บางการศึกษาพบว่าขนาดยาพาราเซตามอล 10-15 มก/กก ทั้ง
แบบกินและเหน็บก้นมีประสิทธิภาพในการลดไข้ได้ดีเท่ากัน
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาพาราเซตามอลแบบกินและเหน็บก้นในขนาดยาที่
เท่ากันต่อการลดไข้ในผู้ป่วยเด็ก
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม ควบคุมกลุ่มตัวอย่างทำในผู้ป่วยเด็กอายุ 6 เดือนถึง 4 ปี
ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ถึง
วันที่ 30 เมษายน 2561 จำนวน 100 คนที่วัดอุณหภูมิทางรักแร้ได้ตั้งแต่ 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ผู้ป่วยที่
มีประวัติแพ้ยาพาราเซตามอล ชักจากไข้สูง ได้ยาพาราเซตามอลมาภายใน 4 ชั่วโมงก่อนการศึกษา อุจจาระ
ร่วงอย่างรุนแรงหรือมีการติดเชื้อรุนแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิตจะถูกตัดออกจากการศึกษา แบ่งผู้ป่วย
ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 50 คนโดยกลุ่มที่ 1 ได้ยาพาราเซตามอลแบบกินขนาด 15 มก/กก กลุ่มที่ 2 ได้
ยาพาราเซตามอลแบบเหน็บก้นขนาด 15 มก/กก การวัดอุณหภูมิทำ 4 ครั้งคือก่อนเริ่มการศึกษา และหลัง
จากได้ยา1ชั่วโมง 2 ชั่วโมงและ 3 ชั่วโมง รายงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำ นวน ค่า
เฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบอุณหภูมิในกลุ่มเดียวกันและต่างกลุ่มใช้
repeated measure ANOVA
ผลการศึกษา: อุณหภูมิหลังได้ยาพาราเซตามอลทั้งแบบกินและเหน็บก้นวัดที่ 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมงและ
3 ชั่วโมง ลดลงอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติเทียบกับอุณหภูมิก่อนได้ยาเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ
ยาพาราเซตามอลทั้งแบบกินและแบบเหน็บก้นไม่แตกต่างกัน
สรุป: ยาพาราเซตามอลแบบกินและเหน็บก้นในขนาดยาที่เท่ากันมีประสิทธิภาพในการลดไข้ไม่
แตกต่างกันดังนั้นการเลือกใช้จึงขึ้นกับสถานการณ์และดุลยพินิจของแพทย์
 
ที่มา
วารสารกุมารเวชศาสตร์ ปี 2561, July-September ปีที่: 57 ฉบับที่ 3 หน้า 197-202
คำสำคัญ
พาราเซตามอล, Paracetamol oral, rectal form, ชนิดกินและเหน็บก้น