การศึกษาผลของการใช้เสียงดนตรีบำบัดต่อการนอนหลับระดับความเครียดและความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจการนอนหลับตลอดคืน: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
วรกต สุวรรณสถิตย์, วิสาข์สิริ ตันตระกูล*, เจนจิรา เพ็งแจ่ม, นภารัตน์ อมรพุฒิสถาพร
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ +6691455992 โทรสาร +6622003768 อีเมล vtantrakul@gmail.com
บทคัดย่อ
บทนำ: ดนตรีบำบัดสามารถลดความตึงเครียดและความวิตกกังวลได้และถูกนำมาใช้เพื่อให้การนอนหลับดีขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลของดนตรีบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับความเครียดและความวิ ตกกังวลในผู้ป่วย ที่เข้ารับการตรวจการนอนหลับ
วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างในผู้ป่วยที่เข้ ารับการตรวจการนอนหลั บ ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 140 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มดนตรีบำบั ดที่ได้ฟังดนตรีบรรเลง จำนวน 70 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 70 คน ซึ่งได้รับ การบริการตามปกติ การประเมินใช้ แบบสอบถามระดับความเครียดและความวิตกกั งวล (Spielberger’s stress and anxiety level) ร่วมกั บผลตรวจการนอนหลั บคือ ระยะเวลาที่เริ่มหลับ(Sleep latency) และประสิทธิภาพของการนอน (Sleep efficiency)
ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่างพบว่าผู้ป่วยกลุ่มดนตรีบำบั ดมีระดั บความเครียดและความวิตกกั งวลลดลงเมื่อเทียบกั บกลุ่มควบคุม (35.6 ± 10.8 เปรียบเทียบกั บ47.6 ± 6.1; P < 0.01) และมีระดั บความเครียดและความวิตกกั งวลก่อนและ หลังการตรวจการนอนหลับน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (-12.4 ± 12.8 เปรียบเทียบกับ 0.52 ± 7.7; P < 0.01) แต่ไม่พบความแตกต่าง ของระยะเวลาที่เริ่มหลับและประสิทธิภาพของการนอน
สรุป: ดนตรีบำบั ดสามารถลดระดับความเครียดและความวิตกกั งวลที่เกี่ยวเนื่องกับการตรวจการนอนหลั บได้ ดั งนั้นอาจ เสนอเป็นทางเลือกในการผ่อนคลายให้กั บผู้ ป่วยที่มาตรวจการนอนหลั บได้ อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่าดนตรีบำบั ดสามารถ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการนอนหลับในผู้ป่วยเหล่านี้ได้
 
ที่มา
รามาธิบดีเวชสาร ปี 2561, July-September ปีที่: 41 ฉบับที่ 3 หน้า 82-91
คำสำคัญ
sleep quality, คุณภาพการนอนหลับ, Polysomnography, Stress and anxiety, ตรวจการนอนหลับ, ความเครียดและความวิตกกังวล