การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบประสิทธิภาพการระงับปวดโดยวิธี Ultrasound-guided transversus abdominis plane block ด้วย 0.25% bupivacaine ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง
อัจฉรา บุดดาวงศ์*, อมรา สีแสน, ศรินรา ทองมี
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี 34000
บทคัดย่อ
บทนำ: การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องจัดเป็นการผ่าตัดใหญ่ เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อได้มาก มีความปวดเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง การทำ Ultrasoundguided transversus abdominis plane (TAP) block เป็นหนึ่งใน multimodal analgesia ที่จะช่วยเสริมฤทธิ์ระงับปวด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการทำ Ultrasound-guided transversus abdominis plane (TAP) block ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง สามารถเสริมฤทธิ์ระงับปวด และลดการใช้มอร์ฟีนระงับปวดหลังผ่าตัด
วิธีศึกษา: ศึกษาแบบ prospective randomized controlled trial ในผู้ป่วย 38 คน ที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวเพื่อผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง แบ่งกลุ่มการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง จะได้รับการฉีด 0.25% bupivacaine และกลุ่มควบคุม จะได้รับการฉีด Normal saline solution โดยวิธี การใช้ Ultrasound-guided TAP block 2 ข้าง ข้างละ 20 มล. หลังผ่าตัดทุกรายจะได้รับยาแก้ปวด acetaminophen non-steroidal anti-inflammatory และเครื่อง patient controlled analgesia (PCA) วัตถุประสงค์หลักเพื่อ ศึกษาปริมาณการใช้มอร์ฟีนรวมหลังผ่าตัด วัตถุประสงค์รอง ศึกษาระดับความปวดขณะพักและขยับ sedation score ระดับความสุขสบาย ภาวะไม่พึงประสงค์ที่ 1 2 6 12 และ 24 ชั่วโมง หลังได้ PCA รวมถึงภาวะแทรกซ้อนหลัง
การทำ TAP block
ผลการศึกษา: การทำ Ultrasound-guided transversus abdominis plane (TAP) block ด้วย 0.25% bupivacaine ข้างละ 20 มล. ภายหลังเสร็จสิ้นการผ่าตัดในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง ไม่สามารถลดการใช้ปริมาณมอร์ฟีนช่วงหลังผ่าตัด ไม่สามารถลดอาการคลื่นไส้อาเจียน คัน ระดับความปวดและ discomfort score ลงได้ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และเมื่อพิจารณาถึงความต่างของการลงแผลผ่าตัดในการศึกษานี้พบว่าทั้งการลงแผลแบบ Low midline incision และ Pfannenstiel incision การทำ TAP block ด้วย 0.25% bupivacaine ข้างละ 20 มล. ในการศึกษานี้ ไม่ช่วยลดการใช้ปริมาณมอร์ฟีน คะแนนความปวด และ discomfort score เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
สรุป: การทำ Ultrasound-guided TAP block ด้วย 0.25% bupivacaine ข้างละ 20 มล. ในผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง ไม่สามารถลดการใช้ปริมาณมอร์ฟีนช่วงหลังผ่าตัด และคะแนนความปวดลงได้
 
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปี 2561, May-August ปีที่: 33 ฉบับที่ 2 หน้า 61-75
คำสำคัญ
Abdominal hysterectomy, หลังผ่าตัด, การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง, postoperative morphine consumption, ปริมาณการใช้มอร์ฟีน, transversus abdominis plane block