การวิจัยแบบทดลองของการส่งเสริมจินตนาการและการวาดรูปและการเล่าเรื่องในเด็กป่วยโรคมะเร็ง
กชกร เพียซ้าย, ศศิธร พุมดวง*, วันธณี วิรุฬห์พานิช, ๊ธีรชิต โชติสัมพันธ์เจริญ
ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย 90110
บทคัดย่อ
เด็กวัยเรียนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งจะเผชิญกับความเครียดและภาวะคุกคามต่อชีวิต ทำให้เด็ก ไม่มีความสุข เกิดความตึงเครียดและความเครียด การศึกษาแบบทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ การส่งเสริมจินตนาการและการวาดรูปและการเล่าเรื่อง ต่อความสุข ความผ่อนคลาย และระดับคอร์ติซอล ในเด็กวัยเรียนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งขณะนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มเข้ากลุ่ม ทดลอง (20 คน) และกลุ่มควบคุม (20 คน) กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมการส่งเสริมจินตนาการ 30 นาที ตามด้วยการวาดรูปและการเล่าเรื่องอีก 30 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดระดับความสุขคือ Happiness Face Scale และเครื่องมือที่วัดระดับความผ่อนคลาย คือ Relaxation Scale รวมทั้งเก็บน้ำลายเพื่อวัดระดับคอร์ติซอล ข้อมูลวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติอ้างอิง
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองซึ่งได้รับการส่งเสริมจินตนาการและการวาดรูปและการเล่าเรื่อง มีระดับคะแนนความสุข และความผ่อนคลายเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไร ก็ตามถึงแม้ว่าระดับคอร์ติซอลลดลงแต่ไม่มีความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การส่งเสริมจินตนาการและการวาดรูปและการเล่าเรื่อง สามารถส่งเสริมความสุขและความผ่อนคลาย แต่อาจจะไม่สามารถลดระดับคอร์ติซอลได้ ดังนั้นพยาบาลจึงควรใช้การส่งเสริมจินตนาการตามด้วย การวาดรูปและการเล่าเรื่องให้ผู้ป่วยเด็กฟังเพื่อให้ผู้ป่วยเด็กมีความสุขและผ่อนคลาย
 
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2561, October-December ปีที่: 22 ฉบับที่ 4 หน้า 386-400
คำสำคัญ
Cancer, children, เด็ก, Cortisol, คอร์ติซอล, มะเร็ง, Drawing-storytelling, Guided imagination, Happiness, Relaxation, การวาดรูปและการเล่าเรื่อง, การส่งเสริมจินตนาการ, ความสุข, ความผ่อนคลาย