การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มของโปรแกรมการพยาบาลแนวพุทธสำหรับสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม
ศมนนันท์ ทัศนีย์สุวรรณ*, วงจันทร์ เพชรพิเชษฐ์เชียร, ทิพมาส ชิณวงศ์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประเทศไทย
บทคัดย่อ
อาการทางด้านจิตใจ เป็นประสบการณ์อาการที่พบบ่อยในสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมระหว่าง ได้รับเคมีบำบัดการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการพยาบาลแนวพุทธต่อ อาการทางด้านจิตใจ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 93 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง (n = 45) ได้รับโปรแกรมการพยาบาล แนวพุทธร่วมกับการดูแลตามปกติ และกลุ่มควบคุม (n = 48) ได้รับการดูแลตามปกติเพียงอย่างเดียว ณ แผนกผู้ป่วยนอกของศูนย์ให้เคมีบำบัด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กิจกรรมของโปรแกรม ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1) การรู้จักตนเองกับการเจ็บป่วย 2) การประยุกต์หลักคำสอนอริยสัจสี่ ในการดูแลสุขภาพตนเอง และ 3) การสะท้อนคิดเกี่ยวกับประสบการณ์อาการทางด้านจิตใจ และ ความก้าวหน้าในการปฏิบัติวิถีพุทธ ดำเนินการเก็บข้อมูล ด้วยแบบประเมินประสบการณ์อาการทาง ด้านจิตใจ จำนวน 3 ครั้ง คือ วันแรกที่ได้รับเคมีบำบัด รอบที่ 3 และ รอบที่ 6 ของการได้รับเคมีบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อบรรยายข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มด้วยสถิติไคสแควร์ สถิติทดสอบที และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำแบบทางเดียว
ผลการศึกษา พบว่า ไม่พบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยประสบการณ์อาการทางด้านจิตใจทาง สถิติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามพบความแตกต่างทางสถิติภายในกลุ่มใน ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน และพบปฏิสัมพันธ์ของช่วงเวลาและกลุ่มที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้โปรแกรมการพยาบาลแนวพุทธอาจไม่สามารถลดประสบการณ์อาการทางด้านจิตใจได้อย่าง ชัดเจนทางสถิติ แต่อาจเป็นวิธีการดูแลแบบผสมผสานวิธีหนึ่ง ในการช่วยลดประสบการณ์อาการ ทางด้านจิตใจสำหรับสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมระหว่างที่ได้รับเคมีบำบัด
 
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2561, January-March ปีที่: 22 ฉบับที่ 1 หน้า 58-73
คำสำคัญ
women, Breast cancer, ประสบการณ์อาการ, มะเร็งเต้านม, Intervention program, Buddhist-based nursing program, Psychological symptom experiences, โปรแกรมการพยาบาลแนวพุทธ, โปรแกรมการปฏิบัติ, ทางด้านจิตใจ, ผู้หญิง