ผลของการป้องกันภาวะไตวายเฉียบพลันโดยการให้ Dexmedetomidine ระหว่างการผ่าตัดทำท างเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
อนันตโชติ วิมุกตะนันทน์*, ตุลชัย อินทรัมพรรย, แพรพิไล จันทร์สว่างภูวนะ, ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์
ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
บทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันเป็นปัญหาที่รุนแรงและพบได้บ่อยจากการผ่าตัดหัวใจทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพและ เสียชีวิตภายหลังการผ่าตัด ยา dexmedetomidine ออกฤทธิ์ ยับยั้งการตอบสนองของระบบประสาท sympathetic และ ลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัด ผู้ทำการวิจัยต้องการทดสอบสมมติฐานที่ว่า dexmedetomidine สามารถป้องกันภาวะไตบาดเจ็บวายเฉียบพลันในผู้ป่วยที่ เข้ารับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบไม่ฉุกเฉิน
วิธีกรศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ double-blinded, randomized controlled trial ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทำทาง เบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบไม่ฉุกเฉินที่มีการทำงาน ของไตปรกติจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับ dexmedetomidine (กลุ่ม dexmed) ขนาด 0.5 ไมโครกรัม/ กิโลกรัม เป็นเวลา 20นาที และได้รับยาต่อเนื่องในขนาด 0.4 ไมโครกรัม/กิโลกรัม จนกระทั่งผ่าตัดเสร็จ ส่วนกลุ่ม ควบคุมจะได้รับ normal saline การระงับความรู้สึกระหว่าง ผ่าตัดของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ ค่า creatinine และ NGAL ในเลือดและค่า NGAL ในปัสสาวะ ในช่วงก่อนเริ่มผ่าตัดและภายหลังการผ่าตัดที่ 6 และ 24 ชั่วโมง ค่า p <0.05 มีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลกรศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มละ 10 โดยทั้งสองกลุ่ม ระดับ creatinine ในเลือด และ NGAL ในปัสสาวะ ที่ 6 และ 24 ชั่วโมง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในกลุ่ม dexmedetomidine มีระดับ NGAL ในเลือดที่ 6 และ 24 ชั่วโมงน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (149.5 vs 291.4; p=0.016 และ 118.5 vs 201.5; p=0.004) กลุ่ม dexmedetomidine มีปริมาณปัสสาวะระหว่างการ ผ่าตัดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (4.5 vs 2.4 ml/ kg/hr.; p=0.011) และยังพบผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน ในกลุ่มควบคุม 3 ราย แต่ไม่พบในกลุ่ม dexmedetomidine เลย (p=0.06)
สรุป: Dexmedetomidine ลดการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ได้ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แบบไม่ฉุกเฉินที่มีการทำงานของไตปรกติโดยวัดจากระดับ NGAL ในเลือด นอกจากนี้ยาดังกล่าวยังช่วยเพิ่มปริมาณ ปัสสาวะระหว่างการผ่าตัดอีกด้วย
 
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2561, July-September ปีที่: 44 ฉบับที่ 3 หน้า 120-126
คำสำคัญ
Coronary artery bypass graft, การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, Dexmedetomidine, acute kidney injury, renal protection, cardiopulmonary bypass, การป้องกันการบาดเจ็บต่อไต, ภาวะไตวายเฉียบพลัน