ผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีประจำเดือนในระยะช็อกได้รับการรักษาโดยไม่ใช้ฮอร์โมน ประสบการณ์ 10 ปี ที่โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2544-2553
วิฐารณ บุญสิทธิ*, สลักจิต ราษฏร์อาศัย, สิริมณฑา ดาวสุโข, ดวงเดือน สายน้ำปราณ, จริยา ทะรักษา
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการพัฒนาแบบประเมินคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยเด็กไทยอายุ 6-15
ปี ชื่อ Thai Quality of Life Instrument for Children (ThQLC) ที่คณะผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ประกอบ
ด้วยข้อคำถามรวม 23 ข้อ ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านการเรียน และ
ด้านการมองชีวิต จัดทำเป็น 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับผู้ปกครองและฉบับเด็ก และทดสอบคุณสมบัติ
(psychometric property) ของแบบประเมินนี้ในกลุ่มเด็กสุขภาพปกติจากโรงเรียนประถมและมัธยม
ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 115 ราย และกลุ่มผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรังที่มาตรวจที่คลินิกโรคเลือด
โรคไต โรคระบบประสาท และโรคเบาหวานของโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 116 ราย
ผลการทดสอบความแม่นตรง (validity) โดยวิธี known group method เปรียบเทียบความ
แตกต่างของคะแนนระหว่างสองกลุ่ม (discriminant validity) พบว่าทั้งคะแนนรวมคุณภาพชีวิต
และคะแนนคุณภาพชีวิตแต่ละด้านในทุกด้าน ของทั้งสองกลุ่มทั้งในฉบับเด็กและฉบับผู้ปกครอง มี
ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < 0.05 และการทดสอบความเชื่อถือได้ (reliability)
แบบวัดความคงที่ภายใน (internal consistency reliability) ด้วยการคำนวณค่า Cronbach’s alpha
coefficient ของแบบประเมินทั้งฉบับเด็กและฉบับผู้ปกครองได้เท่ากับ 0.91 ซึ่งสูงกว่าค่าที่ยอมรับ
ได้ทั่วไปที่ 0.70
จากผลการศึกษาแสดงว่าแบบประเมิน ThQLC ที่พัฒนาขึ้นนี้มี validity และ reliability ใน
ระดับที่ยอมรับได้ และสามารถนำไปใช้ประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเพื่อประเมินผลการรักษา
รวมทั้งในการศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น
 
 
ที่มา
วารสารกุมารเวชศาสตร์ ปี 2558, January-March ปีที่: 54 ฉบับที่ 1 หน้า 17-31
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Health related quality of life, คุณภาพชี่วิต, ThQLC, Thai Quality of Life Instrument for Children, คุณภาพชีวิตสุขภาพ, แบบประเมินคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยเด็กไทย