การศึกษาคุณภาพชีวิตและผลการทดสอบเดินหกนาทีในผู้ป่วยสูงอายุภายหลังการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวรเปรียบเทียบระหว่างเครื่องชนิดกระตุ้นหัวใจห้องเดียวที่ปรับอัตราการเต้นหัวใจได้ตามกิจกรรมและเครื่องชนิดกระตุ้นหัวใจสองห้องบนล่างต่อเนื่อง
จรินทร์ อัศวหาญฤทธิ์*, กัญญารัตน์ แก้วน่าน, ประเสริฐ จิระโณทัย
หน่วยโรคหัวใจ สถาบันโรคทรวงอก ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ทำเพื่อศึกษาผลหลังการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยสูงอายุ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนคุณภาพชีวิตและผลการทดสอบเดินหกนาที ระหว่างเครื่องชนิดกระต้นุ หัวใจห้องเดียวที่ปรับอตั ราการเตน้ หัวใจได้ตามกิจกรรมกับเครื่องชนิดกระตุ้นหัวใจสองห้องบนล่างต่อเนื่องโดยการศึกษาทำแบบสังเกตการณ์ในลักษณะภาคตัดขวาง ในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปหลังการใส่เครื่องอย่างน้อยหนึ่งปี ด้วยการใช้ข้อมูลจากเวชระเบียนการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม SF-36 ฉบับภาษาไทยเพื่อดูคะแนนคุณภาพชีวิต (physical component scale - PCS, and mental componentscale - MCS) การทดสอบเดินทางราบหกนาที และการตรวจการทำงานหัวใจด้วยภาพเสียงสะท้อนรูปหัวใจ จำนวนผู้ป่วยที่ศึกษา 95 คน เป็นเพศชาย
ร้อยละ 31.6 เพศหญิง 68.4 อายุเฉลี่ย 77.1 ปี ค่าเฉลี่ยการบีบตัวของหัวใจ0.63 ค่ากลางของจำนวนปีที่ผู้ป่วยได้ใส่เครื่องเป็น 3 ปี โรคร่วมที่พบได้แก่ ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 75.8 เบาหวานร้อยละ 18.9 ภาวะไตเสื่อมระดับ 3 ขึ้นไป ร้อยละ 53.7 ภาวะหัวใจเต้นพลิ้วชั่วคราว ร้อยละ 27.7 และภาวะหัวใจเต้นพลิ้วตลอด ร้อยละ 12.9 จำนวนผู้ป่วยที่ใส่เครื่องชนิดห้องเดียวหมวด VVIR และชนิดสองห้อง (dual chamber) เป็น 52 และ 43 ราย เมื่อวิเคราะห์เทียบผลระหว่างหมวด VVIR กับ dual chamber โดยปรับตัวแปร อายุ เพศ การมีภาวะหัวใจเต้นพลิ้วชนิดเป็นตลอด และระยะเวลาที่ได้ใส่เครื่องแล้ว ค่าคะแนนคุณภาพชีวิตและผลระยะการเดินหกนาทีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าที่ได้และค่านัยสำคัญได้แก่ คะแนน
PCS 51.7 เทียบกับ 57.4 (p value = 0.87) คะแนน MCS 54.7 กับ 58.7 (p value = 0.74) และระยะการเดินหกนาทีเป็น 282.8 กับ 330.5 เมตร (p value = 0.16)
 
 
ที่มา
Journal of The Department of Medical Services ปี 2561, March-April ปีที่: 43 ฉบับที่ 2 หน้า 56-62
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Permanent pacemaker, คุณภาพชี่วิต, Six minute walk test, Single chamber pace with rate responsive, Dual chamber pace, การทดสอบเดินทางราบหกนาที, เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ, เครื่องห้องเดียวชนิดปรับอัตราการเต้นได้ตามกิจกรรม, เครื่องชนิดกระตุ้นสองห้องต่อเนื่อง