ผลของการฝึกผ่อนลมหายใจออกช้าโดยการเป่ากังหันลมต่อความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
เสกสรร ไข่เจริญ*, มยุรี พิทักษ์ศิลป์, วัลลภ ใจดี, สมจิต พฤกษะริตานนท์
โรงพยาบาลบางปะกง ถ.บางนา-ตราด อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ประเทศไทย; Email: uw.lanass@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงก่อนและหลังได้รับการฝึกผ่อนลมหายใจออกช้าๆผ่านการเป่ากังหันลมเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฝึก
วิธีการศึกษา วิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่ม
อย่างง่าย ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแบบปกติ และกลุ่มทดลองได้รับการฝึกผ่อนลมหายใจออกช้าโดยการเป่ากังหันลมร่วมกับการรักษาแบบปกติ วัดผลการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตที่ 8 สัปดาห์
ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกคัดออกจากกลุ่มทดลอง 4 คน เนื่องจากไม่สามารถฝึกผ่อนลมหายใจได้สม่ำเสมอ และขาดการรักษา จึงนำมาแปรผล 56 ราย พบวา่ กลมุ่ ทดลองมีความดนั โลหิตลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองโดยความดันโลหิตขณะหัวใจบีบลดลง-7.5 มม.ปรอท (95%CI,-11.5 ถึง-3.4) ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายลดลง-4.4 มม.ปรอท (95%CI,-7.1 ถึง-1.6) และความดันเลือดแดงเฉลี่ยลดลง-5.4 มม.ปรอท (95%CI,-8.1 ถึง-2.7) ส่วนกลุ่มควบคุม พบว่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบเพิ่มขึ้นจากเดิม 5.5 มม.ปรอท (95%CI,-0.95 ถึง 10.1) ส่วนความดันโลหิตขณะหัวใจคลายและความดันเลือดแดงเฉลี่ยก่อนและหลังแตกต่างกันไม่ชัดเจน ผลการเปรียบเทียบความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบและความดันเลือดแดงเฉลี่ยมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ผลต่าง 13 มม.ปรอท 95%CI, 6.94 ถึง 19.05 และ 6.3 มม.ปรอท 95%CI, 2.47 ถึง 10.03 ตามลำดับ; P<0.01) ส่วนความดันโลหิตขณะหัวใจคลายไม่แตกต่างกัน
สรุป การฝึกผ่อนลมหายใจออกช้าเป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีผลช่วยในการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรค
ความดันโลหิตสูง
 
ที่มา
Burapha Journal of Medicine ปี 2561, January-June ปีที่: 4 ฉบับที่ 1 หน้า 9-20
คำสำคัญ
Blood pressure, Slow breath training, Hypertensive patient, ผ่อนลมหายใจออกช้า, ความดันโลหิต, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง