ผลของการออกกำลังกายฤๅษีดัดตนต่อความอ่อนตัวและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ
ปราณี ใจกาศ, เพ็ญประภา ศิวิโรจน์*, รัตนา พันธพานิช
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ
การศึกษามุ่งหมายกำหนดหาผลของการออกกำลังกายฤๅษีดัดตน ท่าพื้นฐาน 15 ท่า ต่อความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและคุณภาพชีวิต วัดผลลัพธ์ด้วยการประเมินความอ่อนตัวของหัวไหล่ หลัง สะโพก และกล้ามเนื้อขาด้านหลังด้วยการทดสอบนั่งอตัวไปด้านหน้าและมือไขว้หลังแตะกัน กับประเมินคุณภาพชีวิตด้วย WHO QOL-brief-Thai สัปดาห์ที่ 4, 8, และ 12 หลังจากเข้ารับการทดลองสัปดาห์ที่ 12 พบค่าเฉลี่ยทั้ง หมดของนั่งงอตัวไปด้านหน้า มือไขว้หลังแตะกัน และคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
 
ที่มา
Naresuan Phayao Journal ปี 2561, January-April ปีที่: 11 ฉบับที่ 1 หน้า 37-40
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, elderly, Flexibility, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชี่วิต, ฤๅษีดัดตน, Ascetic exercise, ความอ่อนตัว