การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบระยะเวลาในการผ่าตัด การทำหมันหลังคลอดระหว่างการลงแผลในสะดือและใต้สะดือ
วัชรินทร์ เฉิดฉิ้ม, ปรีชา วาณิชยเศรษฐกุล*, คมสันติ์ สุวรรณฤกษ์, ชยันตร์ธร ปทุมมานนท์
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปทุมธานี 12120 อีเมล: pchawanit@yahoo.com
บทคัดย่อ
บทนำ: การทำ หมนั หลงั คลอดเป็นวิธีการคุมกำ เนิดถาวรที่นิยม ซึ่งจะลงแผลแนวขวางใต้ส ะดือไม่ลงแผลในสะดือเพราะเชื่อว่า ทำยากและสะดือมีก้นที่ลึกทำ ความสะอาดยากและสกปรกอาจเกิดแผลติดเชื้อได้ง่าย แต่ปัจจุบันในยุคที่มีการทำ ผ่าตัดผ่านกล้องมากขึ้นโดยเฉพาะ Single port surgery ซึ่งลงแผลผ่าตัดครั้งเดียวในสะดือพบว่าได้ผลดี มองไม่เห็นแผลอัตราการติดเชื้อไม่แตกต่างกันระหว่างการสอดกล้องในและใต้สะดือ ประกอบกับในสตรีตั้งครรภ์สะดือจะตื้นขึ้นมากตามสรีระของมดลูกที่โตขึ้น การลงแผลในสะดือจึงน่าจะได้ผลไม่ด้อยกว่า จนถึงอาจจะดีกว่าการลงแผลใต้สะดือ ทั้งระยะเวลาในการผ่าตัด และความสวยงาม แต่การศึกษาวิจัยการทำ หมันหลังคลอดที่ลงแผลในสะดือเปรียบเทียบกับการลงแผลใต้สะดือยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการผ่าตัดความสวยงาม และภาวะแทรกซ้อนในการทำหมันหลังคลอดระหว่างการลงแผลในสะดือและใต้สะดือ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงประสิทธิภาพรูปแบบ Randomized control trial จัดผู้ป่วยเข้ากลุ่มศึกษา โดยการสุ่มที่แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ในผู้ป่วยที่ต้อการทำหมันหลังคลอด โดยการลงแผลผ่าตัดสองวิธี คือ ในสะดือ (Intra-umbilical, n = 15) และใต้สะดือ (Infra-umbilical, n = 15) การผ่าตัดทำโดยนักศึกแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป การประเมินระดับความสวยงามของแผลผ่าตัดด้วย Patient and observer scar assessment score (POSAS) เปรียบเทียบความแตกต่างของแผลผ่าตัดกับผิวหนังบริเวณที่ปกติที่ 1 สัปดาห์หลังคลอดประเมินโดยตัวผู้ป่วยเองและระยะเวลาทำผ่าตัด ด้วย t-test เปรียบเทียบการติดเชื้อของแผลผ่าตดั ที่ 1 สัปดาห์ และภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด 1 สัปดาห์หลังคลอดด้วย Exact probability test
ผลการศึกษา: เวลาในการผ่าตัดลงแผลในสะดือเร็วกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (24.9 ± 6.3 VS 41.6 ± 13.2 นาที, P < 0.001) และคะแนนความสวยงามของแผลผ่าตัดประเมินโดยผู้ป่วย (7.8 ± 1.6 VS 14.5 ± 2.4, P < 0.001) และผู้ช่วยวิจัยที่ได้รับการอบรม (1.7 ± 0.7 VS 3.3 ± 0.9, P < 0.001) กลุ่มที่ผ่าตัดในสะดือดีกว่าใต้สะดืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบการบาดเจ็บต่ออวัยวะภายในหรือการติดเชื้อของแผลผ่าตัดในการศึกษานี้
สรุป: การทำ หมันหลังคลอดโดยลงแผลในสะดือสามารถทำได้และใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยกว่าการลงแผลใต้สะดือ
 
 
ที่มา
รามาธิบดีเวชสาร ปี 2560, July-September ปีที่: 40 ฉบับที่ 3 หน้า 29-37
คำสำคัญ
หลังคลอด, Sterilization, ระยะเวลาผ่าตัด, Post-partum, Umbilical Skin incision, Intraoperative time, Surgical wounds, Aesthetics, Medical students, ทำหมัน, แผลผ่าตัด, สะดือ, ความสวยงาม, นักศึกษาแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป