คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบริการสุขภาพของรัฐ ในจังหวัดสงขลา
ภัชชนก รัตนกรปรีดา, สุชาดา ภัยหลีกลี้*
Department of Community Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand; Phone: +66-89-710648; E-mail: paileeklee@yahoo.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบริการสุขภาพของรัฐ 4 แห่ง ในจังหวัดสงขลา
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาพรรณนาภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่รับการบำบัดรักษายาเสพติดทั้งผู้ป่วยนอกและแบบผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา และโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2556 ทั้งหมด 749 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามคุณภาพชีวิต The Short-Form Health Survey-36 (SF-36) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไป และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยยาเสพติดด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตระหว่างโรงพยาบาลด้วย one-way ANOVA
ผลการศึกษา: ผลการประเมินระดับสุขภาพตนเองของผู้ป่วยยาเสพติดมีสุขภาพของตนเองเหมือนกับปีที่แล้ว ร้อยละ 50.2 ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตมากที่สุด คือ มิติด้านสมรรถภาพทางกาย (physical functioning) 94.6±10.9 คะแนน ส่วนมิติที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มิติด้านกิจกรรมทางสังคม (social functioning) 53.8±11.1 คะแนน สอดคล้องกับการใช้ยาประเภทยาเสพติดที่ใช้ ระบบการบำบัดรักษา รูปแบบ และวิธีการรักษา โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้ง 4 โรงพยาบาล ส่วนการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตรายมิติ พบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างโรงพยาบาลทั้ง 8 มิติ อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการเปรียบเทียบ
กับประชาชนทั่วไป พบว่าผู้ป่วยยาเสพติดมีคุณภาพชีวิตตํ่ากว่าทุกด้าน ยกเว้นด้าน physical functioning
สรุป: ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมีระดับสุขภาพทั่วไปเหมือนกับปีที่แล้ว คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตมากที่สุดในมิติด้านสมรรถภาพทางกาย ส่วนมิติที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มิติด้านกิจกรรมทางสังคม และมีคุณภาพชีวิตตํ่ากว่าประชาชนทั่วไปเกือบทุกด้าน ยกเว้นในมิติด้านสมรรถภาพทางกาย
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2561, December ปีที่: 100 ฉบับที่ 12 หน้า 1325-1330
คำสำคัญ
Quality of life, SF-36, Drug dependent patients