การเปรียบเทียบการใส่ท่อหายใจโดยใช้ Glidescope® video laryngoscope กับ Macintosh direct laryngoscope ในผู้ป่วยที่ได้รับการจับยึดศีรษะและกระดูกสันหลังส่วนคอให้อยู่ในแนวตรง
ชินินธร พันไพศาล*, รยากร มูลละ, นิดา แพทยารักษ์, อัญชนา แก้วคำ, นิภาวรรณ์ จุมปาลี, จตุพงษ์ พันธ์วิไล
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200 ประเทศไทย
บทคัดย่อ
บทนำ: ผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังส่วนคอและอาจต้องใส่ท่อหายใจ จำเป็นต้องจัดท่าไม่ให้มีการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนคอ แต่การจัดท่าเช่นนี้จะให้ใส่ท่อหายใจยากได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสำเร็จในการใส่ท่อหายใจได้ในครั้งแรกระหว่างอุปกรณ์ Glidescope® video laryngoscope (GVL) กับ Macintosh direct laryngoscope (DL) ในผู้ป่วยที่ได้รับการจับยึดศีรษะและกระดูกสันหลังส่วนคอให้อยู่ในแนวตรง (manual in-line stabilization) วิธีกรศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 72 ราย มารับการผ่าตัดและเข้าเกณฑ์การศึกษา จะถูกสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้อุปกรณ์ใส่ท่อหายใจด้วย DL หรือ GVL ร่วมกับมีการจับยึดศีรษะและกระดูกสันหลังส่วนคอให้อยู่ในแนวตรงบันทึกจำนวนครั้งที่ใส่ ระดับกล่องเสียงและเวลาที่ใส่ท่อหายใจ
ผลกรศึกษา: การใส่ท่อหายใจสำเร็จในครั้งแรกด้วยอุปกรณ์ GVL และ DL ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.614) GVL จะทำให้เห็นระดับกล่องเสียงดีกว่า DL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) และ GVL ใช้เวลาในการใส่ท่อหายใจเฉลี่ย 47.28(±11.19) วินาที นานกว่า DL ใช้เวลาเฉลี่ย 38.20(±10.81) วินาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) สรุป: การใส่ท่อหายใจด้วย GVLไม่มีความแตกต่างในการช่วยให้ใส่สำเร็จได้ครั้งแรกเมื่อเทียบกับ DL แต่ GVL ช่วยให้เห็นกล่องเสียงได้ดีกว่าและใช้เวลาใส่ท่อหายใจนานกว่า DL
 
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2560, April-June ปีที่: 43 ฉบับที่ 2 หน้า 97-103
คำสำคัญ
laryngoscopic view, การใส่ท่อหายใจ, Glidescope®video laryngoscope, Macintosh direct laryngoscope, manual in-line stabilization