ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 6-18 สัปดาห์
พัชรี จิตเอื้ออังกูร, นภาพร วาณิชย์กุล*, สุพร สุนัยดุษฎีกุล, ธีรพงศ์ โตเจริญโชค
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700, e-mail: napaporn.wan@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาอำนาจในการทำนายคุณภาพชีวิตของปัจจัยพื้นฐาน ความเสี่ยงในการผ่าตัดหัวใจ ความแตกฉานทางสุขภาพ ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้ป่วย การรับรู้ การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง และการจัดการตนเองในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 6-18 สัปดาห์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย จำนวน 162 คน ภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 6-18 สัปดาห์ ในโรงพยาบาลตติยภูมิ 2 แห่งในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 6 ชุด ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความแตกฉานทางสุขภาพ ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้ป่วย การรับรู้ การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง การจัดการตนเอง และคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น
ผลการวิจัย: พบว่าคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean = .74, SD = .14) ผลการวิเคราะห์อำนาจในการทำนายพบว่า เพศ ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้ป่วย การจัดการตนเอง และความแตกฉานทางสุขภาพ สามารถร่วมทำนาย คุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 39.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) การจัดการตนเอง ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้ป่วย และความแตกฉานทางสุขภาพ อธิบายความแปรปรวนเหนือปัจจัยด้านเพศร้อยละ 35.1
สรปุ และข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรพัฒนาแผนการพยาบาลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สำหรับผู้ป่วยภายหลังผ่าตัด ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 6-18 สัปดาห์ด้วยการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความแตกฉานทางสุขภาพ มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเอง และมีจัดการสุขภาพด้วยตนเอง โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ
 
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2560, July-September ปีที่: 35 ฉบับที่ 3 หน้า 106-119
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, SELF-MANAGEMENT, การจัดการตนเอง, คุณภาพชี่วิต, health literacy, ความแตกฉานทางสุขภาพ, การรับรู้, patient engagement, perceived person-centered care, ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้ป่วย, การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง