ต้นทุน รายได้ และการคืนทุนของผู้ป่วยนอก หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ 2557
ปาริชาติ ฝาระมี*, เด่นพงษ์ วงศ์วิจิตร, พิษณุรักษ์ กันทวี, รัชนี สรรเสริญ, ภมรศรี ศรีวงค์พันธ์
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: อุบัติการณ์การเกิดโรคไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้น การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เป็นการ
รักษาภาวะไตวายที่มีประสิทธิภาพ การศึกษานี้เป็นการศึกษาต้นทุนทั้งหมดของการรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่รักษาบาบัดด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยศึกษามุมมองต้นทุนของผู้ให้บริการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุนทางด้านสาธารณสุขต่อไป และเพื่อการบริการผู้ป่วยที่ได้คุณภาพ มาตรฐาน ผู้ป่วยเข้าถึงการบริการอย่างมีคุณภาพ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วย อัตราส่วนของต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ และต้นทุน ค่าลงทุน รายได้และอัตราการคืนทุนของแผนกบริการผู้ป่วยนอกงานไตเทียม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ 2557
วิธีการศึกษา: ทาการศึกษาแบบย้อนหลัง ในทัศนะของผู้ให้บริการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบ
บันทึกต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน โดยจัดแบ่งหน่วยต้นทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลออกเป็น 3 กลุ่ม คือ หน่วยต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หน่วยต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ และหน่วยงานที่บริการผู้ป่วยโดยตรง ต้นทุนแบ่งออกเป็นต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม ต้นทุนทางอ้อมจัดสรรโดยวิธีกระจายต้นทุนแบบขั้นบันได ต้นทุนต่อหน่วยวิเคราะห์จากต้นทุนรวมหารด้วยจานวนครั้งของผู้ใช้บริการผู้ป่วยนอกงานไตเทียม อัตราคืนทุนวิเคราะห์จากรายรับหารด้วยต้นทุนทั้งหมด
ผลการศึกษา: ปีงบประมาณ 2557 แผนกบริการผู้ป่วยนอกงานไตเทียมมีต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น73,613,211.80 บาท มีผู้ป่วยมารับบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตเทียม 50,164 ครั้ง ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้งของการให้บริการของแผนกบริการผู้ป่วยนอกงานไตเทียม เป็นมูลค่า 1,467.45 บาท จาแนกเป็นต้นทุนทางตรง 1,382.82 บาท ต้นทุนทางอ้อมจากหน่วยงานที่สนับสนุน 84.63 บาท ต้นทุนค่าแรง 145.50 บาท ต้นทุนค่าวัสดุ 1,171.90 บาท ต้นทุนค่าลงทุน 66.50 บาท ต้นทุน Routine Service Cost (RSC) เท่ากับ 1,389.24 บาทต่อครั้ง ต้นทุน Medical Care Cost (MCC) เท่ากับ 81.68 บาทต่อครั้ง โดยต้นทุนค่าแรงพยาบาลต่อครั้ง คือ 139.63 บาท ต้นทุนค่าเสื่อมของเครื่องฟอกไตต่อครั้ง คือ 55.82 บาท ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นค่าวัสดุ รองลงมาเป็นต้นทุนค่าแรง และต่าสุดเป็นต้นทุน ค่าลงทุน คิดเป็นร้อยละ 10.8 : 80.8 : 8.5
ตามลาดับ เทียบเป็นสัดส่วน คือ ต้นทุนค่าแรง: ค่าวัสดุ: ค่าลงทุน เท่ากับ 1.3 : 9.5 : 1.0 ตามลาดับ
อัตราการคืนทุนสุทธิ (Net Cost Recovery) เท่ากับร้อยละ 96.7 และอัตราการคืนทุนจากรายรับพึงได้ (Accrual Cost Recovery) เท่ากับร้อยละ 102.2
สรุปและข้อเสนอแนะ: ต้นทุนค่าวัสดุมีอิทธิพลสูงสุดต่อต้นทุนรวมทั้งหมดของแผนกบริการผู้ป่วยนอกงาน
ไตเทียม พบว่าต้นทุนต่อหน่วยของแผนกบริการผู้ป่วยนอกงานไตเทียมมีค่าต่ากว่ารายรับพึงได้ แต่รายรับสุทธิของงานไตเทียมไม่สามารถรองรับต้นทุนทั้งหมดของงานไตเทียมได้ ข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานการบริหารทรัพยากรและดาเนินการควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพต่อไป
 
ที่มา
เชียงรายเวชสาร ปี 2560, ปีที่: 9 ฉบับที่ 1 หน้า 29-41
คำสำคัญ
Hemodialysis, ต้นทุน, Unit cost, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, chronic kidney disease, Income and Cost Recovery, รายได้และอัตราการคืนทุน, ผู้ป่วยไตเทียม