การเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการเดินและการออกกำลังกายแบบโยคะที่บ้านต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดในหญิงตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 2: การทดลองเชิงสุ่ม
สุชารัตน์ ชาติไทย, สาธิตา มัคกิติกาล, กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์*
ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 อีเมล ykornano@tu.ac.th, plekornanong@g mail.com
บทคัดย่อ
 บทนำ: การเดินและการออกกำลังกายแบบโยคะนับว่าเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมในหญิงตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามยังมีการศึกษาน้อยเกี่ยวกับผลของการเดินกับการออกกำลังกายแบบโยคะที่บ้านต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเดินและการออกกำลังกายแบบโยคะที่บ้านต่อระบบหัวใจและ หลอดเลือด และเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการเดินและการออกกำลังกายแบบโยคะต่อระบบหัวใจและ หลอดเลือดในหญิงตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสที่ ๒
วิธีกรศึกษา: หญิงตั้งครรภ์จำนวน ๑๔ คน อายุระหว่าง ๑๘ - ๓๕ ปี ที่มีอายุครรภ์ ๑๔ - ๒๒ สัปดาห์ โดยมีจำนวนกลุ่มละ ๗ คน อาสาสมัครในกลุ่มออกกำลังกายด้วยการเดินได้รับเครื่องนับก้าวเดิน และกำหนดให้เดินสะสมก้าวมากกว่า หรือเท่ากับ ๗,๕๐๐ ก้าวต่อวัน จำนวน ๕ วันต่อสัปดาห์ และกลุ่มออกกำลังกายด้วยโยคะได้รับสื่อวีดิทัศน์ การออกกำลังกายแบบโยคะด้วยตนเอง และกำหนดให้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ ๕ วัน วันละ ๓๐ นาที ทำการศึกษา เป็นเวลา ๘ สัปดาห์ วัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ค่าการใช้ปริมาณออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ และทดสอบระยะทางการเดิน ๖ นาที ทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ใช้สถิติทดสอบ t-test เปรียบเทียบ ผลของโปรแกรมดังกล่าว
ผลกรศึกษา: จากหญิงตั้งครรภ์จำนวน ๑๔ คน มีจำนวนอาสาสมัครทั้งสิ้น ๑๑ คนที่ทำการศึกษาจนครบโปรแกรมดังกล่าว (อายุเฉลี่ย ๒๘.๑๘ ± ๕.๘๓ ปี) โดยเป็นกลุ่มออกกำลังกายด้วยการเดินจำนวน ๕ คน และกลุ่มออกกำลังกาย แบบโยคะจำนวน ๖ คน จากการศึกษาพบว่า อาสาสมัครในกลุ่มออกกำลังกายด้วยโยคะ มีค่าความดันโลหิต ช่วงหัวใจบีบตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (-๑๒.๕๐ ± ๑๐.๓๗ มิลลิเมตรปรอท) ในขณะที่กลุ่มการเดินมีค่า อัตราการเต้นของหัวใจและค่าการใช้ปริมาณออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มโยคะมีแนวโน้มที่แสดงถึงการลดลงของค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวและค่าการใช้ออกซิเจนของ กล้ามเนื้อหัวใจ (-๑๕.๕๐ ± ๕.๔๐ มิลลิเมตรปรอท, -๒.๑๒ ± ๐.๗๙ ครั้งต่อนาที*มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ)
วิจรณ์ และ ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบโยคะที่บ้านเป็นเวลา ๘ สัปดาห์มีผลทำให้ความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว
สรุปผลกรศึกษา: ลดลง และช่วยลดค่าการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อเปรียบเทียบกับโปรแกรมการเดิน การศึกษานี้ เสนอแนะว่า การออกกำลังกายแบบโยคะที่บ้านอาจเป็นทางเลือกที่ดีในการลดค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสที่ ๒ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น
 
ที่มา
ธรรมศาสตร์เวชสาร ปี 2560, July-September ปีที่: 17 ฉบับที่ 3 หน้า 315-324
คำสำคัญ
Exercise, การออกกำลังกาย, Cardiovascular system, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, Walking, การเดิน, Pregnant women, หญิงตั้งครรภ์, Yoga exercise, การออกกำลังแบบโยคะ