ประสิทธิผลการใช้สิ่งประดิษฐ์รางหินแม่น้ำฝึกเดินต่อระยะเวลาทดสอบการทรงตัวของผู้สูงอายุติดบ้านในจังหวัดอุบลราชธานี
ธงชัย อามาตยบัณฑิต
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
บทคัดย่อ
การวิจยั ทดลองเชิงสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุมและติดตามตามช่วงเวลาเพื่อศึกษาผลการใช้สิ่งประดิษฐ์รางหินแม่น้ำฝึกเดินต่อระยะเวลาการทรงตัวในผู้สูงอายุติดบ้านในจังหวัดอุบลราชธานีและเปรียบเทียบทัศนคติ การรับรู้สมรรถนะตนเองและความพึงพอใจต่อการเดินเคลื่อนไหวร่ายกาย ผู้วิจัยพัฒนาอุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์รางหินแม่น้ำ ฝึกเดิน สุ่มตัวอย่างอิสระเข้ากลุ่มๆ ละ 50 คน กลุ่มทดลองได้รับการฝึกเดินด้วยอุปกรณ์ประดิษฐ์ครั้งละ 30 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3 วัน และกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกเดินจากอุปกรณ์ดังกล่าว ดำเนินการในเดือนพฤศจิกายน 2559-31 มกราคม 2560 รวม 3 เดือน ประเมินระยะเวลาจากการทดสอบทรงตัว ทัศนคติ การรับรู้สมรรถนะตนเองและความพึงพอใจต่อการออกกาลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายเก็บข้อมูลด้วยการทดสอบเดินและแบบสอบถาม พรรณนาข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างด้วยการทดสอบที ความแปรปรวนร่วม พร้อมช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 ที่ระดับนัยสาคัญ 0.05
ผลการวิจัย กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีอายุเฉลี่ย 73.1 ปี (SD=4.1) และ 70.9 ปี (SD=6.1) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 74.5 และ 62.7 สถานภาพสมรสร้อยละ 47.1 และร้อยละ 56.9 ทางานหนักจนเหงื่อออกทุกวันร้อยละ 60.8 และ 58.8 ไม่มีข้อมูลเพียงพอระบุความแตกต่างระหว่างกลุ่มก่อนการทดลอง ในระยะหลังการทดลอง 1 เดือน เวลาการเดินทดสอบลดลงเฉลี่ย 4.3 วินาทีและ 4.7 วินาทีในระยะ 2 เดือนต่อมาแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญ ส่วนทัศนคติ การรับรู้สมรรถนะตนเองและความพึงพอใจเพิ่มขึ้นในกลุ่มทดลองและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญ สรุปได้ว่าการฝึกเดินด้วยอุปกรณ์มีผลต่อการลดระยะเวลาในการเดินเพื่อทดสอบการทรงตัว เพิ่มทัศนคติ การรับรู้สมรรถนะตนเองและความพึงพอใจต่อการเคลื่อนไหวและออกกา ลังกายได้ ดังนั้นผู้ที่มีบทบาทควรนา อุปกรณ์นี้ไปขยายผลและปรับใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่ วยเรื้อรังอื่นๆ ต่อไป
 
ที่มา
วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปี 2560, January-April ปีที่: 10 ฉบับที่ 1 หน้า 268-280
คำสำคัญ
การฝึกเดิน, การทรงตัว, body balance, Walking training