การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบบูรณาการพหุปัญญา หลังการปฏิบัติตามแนวคิดปรัชญาตะวันออกด้วยวิถีไทยพุทธ
มาลีวัล เลิศสาครศิริ*, กุหลาบ รัตนสัจธรรม, พิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ, วนัสรา เชาวน์นิยม, ชัยนันท์ เหมือนเพ็ชร์
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุแบบบูรณาการพหุปัญญา หลังการปฏิบัติตามแนวคิดปรัชญาตะวันออกด้วยวิถีไทยพุทธ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุจำนวน 457 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีการปฏิบัติตามแนวคิด ปรัชญาตะวันออกด้วยวิถีไทยพุทธจำนวน 212 คน และกลุ่มที่ไม่ได้ปฏิบัติจำนวน 245 คน กระจายทั่วประเทศในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ใช้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมากสุดที่คำนวณได้ด้วยสูตรยามาเน่ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลคุณลักษณะพหุปัญญาของผู้สูงอายุ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ความมั่นคงทางอารมณ์ และข้อมูลการปฏิบัติตามแนววิถีไทยพุทธที่ผ่านการตรวจความตรง เชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงได้ .70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา การทดสอบค่าทีไคสแควร์ และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุที่ปฏิบัติตามแนวคิดปรัชญาตะวันออกด้วยวิถีไทยพุทธ มีคุณลักษณะพหุปัญญาสูงกว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้ปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เกี่ยวกับความฉลาดด้านจินตนาการ ด้านการเคลื่อนไหว ในการสร้างสัมพันธภาพ การเข้าใจตนเอง การเข้าใจธรรมชาติและการคิดใคร่ครวญ ในส่วนที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ความฉลาดด้านตรรกะ และมิติภาวะสุขภาพด้านพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุเกี่ยวกับ พฤติกรรมการออกกำลังกายหรือทำงานจนเหงื่อออกและพฤติกรรมโดยรวมของผู้สูงอายุ สำหรับ คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมิติความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า การปฏิบัติตนด้วยวิถีไทยพุทธ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณค่าและไม่เป็นภาระของครอบครัว ทำแล้ว สบายใจ มีสติ ช่วยให้ปล่อยวางมากขึ้น ชีวิตและสุขภาพดีขึ้น โดยมีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ ข้อเสนอ แนะคือควรมีกลไก จูงใจให้ผู้สูงอายุกลุ่มที่ไม่ปฏิบัติ สนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติตาม แนวคิดปรัชญาตะวันออกด้วยวิถีไทยพุทธ ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอาย
 
ที่มา
วารสารเกื้อการุณย์ ปี 2560, January-June ปีที่: 24 ฉบับที่ 1 หน้า 28-41
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, elderly people, คุณภาพชี่วิต, Eastern philosophy in the Thai Buddhist style, Multiple intelligence integration, ปรัชญาตะวันออกด้วยวิถีไทยพุทธ, บูรณาการพหุปัญญา