ความสัมพันธ์ของความผิดปกติของเล็บและข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
ขจร โรจนเมธินทร์, จุลพรรธน์ อินทรศัพท์, รุจิกาญจน์ อัศวรุ่งนิรันดร์*, อาทิตย์ นาคะเกศ
Division of Dermatology, Department of Medicine, Phramongkutklao Hospital, 315 Rajavithi Road, Phyathai, Bangkok 10400, Thailand; Phone: +66-2-3540374; Fax: 66-2-3540375; E-mail: rujikanrr@gmail.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ความผิดปกติของเล็บในผู้ป่วยสะเก็ดเงินพบได้ 15-50% และพบมากขึ้นในผู้ป่วยสะเก็ดเงินที่มีข้ออักเสบ
วัตถุประสงค์: เพื่อหาความผิดปกติของเล็บ คุณภาพชีวิต และระดับผลเลือด ที่แสดงค่าการอักเสบในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่มีข้ออักเสบเทียบกับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ไม่มีข้ออักเสบ
วัสดุและวิธีการ: เก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่มีข้ออักเสบ 55 ราย และผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ไม่มีข้ออักเสบ 55 ราย ที่มารับการตรวจที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่มีข้ออักเสบมีความผิดปกติของเล็บรว่ มมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีข้ออักเสบ [43 (78.2%) และ 29 (52.7%), p-value = 0.005] โดยที่ชนิดความผิดปกติของเล็บในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน onycholysis เป็นชนิดที่พบมากที่สุด คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่มีข้ออักเสบต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่มีข้ออักเสบ (visual analog score 50.24±23.13 และ 20.77±17.33, p-value <0.001) นอกจากนี้ยังพบว่า ค่า ESR ≥37 มิลลิเมตร/ชั่วโมง และ hs-CRP ≥2.94 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สัมพันธ์กับข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน (sensitivity 74.55%, specificity 58.18%, accuracy 0.7286 และ sensitivity
69.09%, specificity 60.00%, accuracy 0.682 สำหรับ ESR และ hs-CRP ตามลำดับ)
สรุป: พบความผิดปกติของเล็บในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่มีข้ออักเสบมากกว่าผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ไม่มีข้ออักเสบ ข้ออักเสบมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผูป้ ว่ ย ความผิดปกติของเล็บ ค่า ESR ≥37 มิลลิเมตร/ชั่วโมง และค่า hs-CRP ≥2.94 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจนำมาใช้ทำนายการเกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินได้
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2560, September ปีที่: 100 ฉบับที่ 9 หน้า 1021-2026
คำสำคัญ
Psoriasis, Arthritis, Nail abnormalities, ESR, hs-CRP