ประสิทธิผลของการให้ไขมันทางหลอดเลือดดำชนิดที่มีนํ้ามันหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ ในทารกเกิดก่อนกำหนดโดยวิธีการสุ่มและปกปิด ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
วิไลพร เตชะสาธิต*, ศิวาพร ทรัพย์สพรั่ง, พิชญ ตันติยวรงค์, อนิตา ลุวีระDepartment of Pediatrics, Faculty of Medicine, Thammasat University, 95 Paholyothin Road, Klong Luang, Pathum Thani 12120, Thailand; Phone: +66-89-0339442; Fax: +66-2-9269513; E-mail: wilaiporn66@gmail.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำมีความจำเป็นในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีปัญหาความเจ็บป่วยและรับสารอาหารทางปากไม่ได้ในสัปดาห์แรกของชีวิต ทารกที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำเป็นเวลานานมักเกิดการทำงานของตับผิดปกติ การให้ไขมันทางหลอดเลือดดำชนิดใหม่ที่มีนํ้ามันหลายชนิดเป็นองค์ประกอบอาจช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ทำให้อัตราการเจริญเติบโตดีขึ้น และ
ลดอัตราการเกิดภาวะทุพพลภาพได้
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการให้ไขมันทางหลอดเลือดดำสองชนิดที่ต่างกันต่ออัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนneonatal cholestasis การเปลี่ยนแปลงของการทำงานของตับโดยประเมินจาก liver function test, gamma-glutamyl transpeptidase (GGT), อัตราการเจริญเติบโต และอัตราการเกิดภาวะทุพพลภาพ
วัสดุและวิธีการ: ทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 สัปดาห์ และนํ้าหนักแรกเกิดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1,250 กรัม ที่แพทย์ผู้ดูแลประเมินว่ามีความจำเป็นต้องได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำนานมากกว่า 7 วัน จะถูกสุ่มเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 22 ราย ทารกกลุ่มทดลองจะได้รับไขมันทางหลอดเลือดดำชนิดที่มีนํ้ามันหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ ในขณะที่ทารกกลุ่มควบคุมจะได้รับไขมันชนิดที่มีน้ำมันถั่วเหลืองเป็นองคป์ ระกอบอย่างเดียว โดยทีมผูดู้แลทารก ผู้วิจัย และผู้วิเคราะหข้อมูลจะไม่ทราบชนิดของไขมันที่ทารกได้รับ นอกจากชนิดของไขมันทางหลอดเลือดดำที่แตกต่างทารกทั้งสองกลุ่มจะได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำและสารอาหารทางปากตามมาตรฐานเดียวกัน ทารกทั้งสองกลุ่มจะได้รับการติดตามอัตราการเจริญเติบโต การเกิดภาวะแทรกซ้อน อัตราการเกิดภาวะทุพพลภาพ และติดตามการทำงานของตับด้วยค่าเอนไซม์ที่ก่อนเข้าทำการศึกษา สัปดาห์ที่ 1, 2 และ 3
ผลการศึกษา: ทารกกลุ่มละ 22 ราย ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำใกล้เคียงกัน คือ 12.5±8.1 วัน และ 10.5±5.9 วัน ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตามลำดับ พบการเกิด neonatal cholestasis 1 ราย ในทารกกลุ่มทดลอง และ 2 ราย ในทารกกลุ่มควบคุม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการประเมินการทำงานของตับ อัตราการเจริญเติบโต และการเกิดภาวะทุพพลภาพ เช่น โรคปอดเรื้อรัง, late onset sepsis, retinopathy of prematurity ในทารกทั้งสองกลุ่ม ร้อยละ 36 ของทารกในกลุ่มทดลองได้รับการวินิจฉัยว่ามีการเจริญเติบโตช้าหลังเกิดเทียบกับร้อยละ 54 ในกลุ่มควบคุม
สรุป: ไม่พบผลในการป้องกันภาวะการทำงานของตับผิดปกติจากการให้นํ้ามันหลายชนิดเป็นองค์ประกอบทางหลอดเลือดดำในทารกเกิดก่อนกำหนด
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2560, September
ปีที่: 100 ฉบับที่ 9 หน้า 972-979
คำสำคัญ
Preterm, growth, Parenteral nutrition, Cholestasis, Intravenous lipid emulsion