เปรียบเทียบผลการรักษากระดูกเชิงกรานหักชนิดไม่มั่นคง ด้วยการยึดตรึงกระดูกเชิงกรานจากภายนอกทันทีหลังได้รับการวินิจฉัยกับยึดตรึงกระดูกหักหลังการรักษาทั่วไปและการผ่าตัดรักษาอวัยวะภายใน
ทศศาสตร์ หาญรุ่งโรจน์, วิชัย วนดุรงค์วรรณ, สารเนตร ไวคกุลDepartment of Orthopaedic Surgery, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand
บทคัดย่อ
เปรียบเทียบผลการรักษาในระยะแรกและเมื่อติดตามผลการรักษาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ในผู้ป่วยกระดูก เชิงกรานหักชนิดไม่มั่นคงด้วยการยึดตรึงกระดูกจากภายนอกทันทีกับการยึดตรึงกระดูกหลังการรักษาทั่วไปและการ ผ่าตัดรักษาการบาดเจ็บภายในช่องท้องในผู้ป่วย 112 ราย เป็นชาย 69 ราย และหญิง 43 ราย กลุ่มที่ 1 ได้รับการยึดตรึง กระดูก หลังจากการรักษาทั่วไป มี 40 ราย และกลุ่มที่ 2 ได้รับการยึดตรึงกระดูกหักทันที มี 72 ราย ผลการศึกษาพบว่าความต้องการเลือด, ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด, ความจำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไขภาวะกระดูกหัก และความพิการผิดรูปในกลุ่มที่ 2 ซึ่งได้รับการยึดตรึงกระดูกเชิงกรานหักชนิดไม่มั่นคงทันที มีน้อยกว่ากลุ่มที่ 1
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2542, July
ปีที่: 82 ฉบับที่ 7 หน้า 637-642
คำสำคัญ
External Fixation, Pelvic Fractures, Post-operative Pain Control, Stabilization of Pelvic Fractures, การควบคุมความเจ็บปวดหลังกระดูกหัก, การรักษากระดูกเชิงกรานหัก, การใช้เครื่องตรึงกระดูกจากภายนอกในกระดูกเชิงกรานหัก