ผลกระทบของกำไรใส่ฟันเทียมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร
Pinyo Hongyim*, Mingkhuan Sittivoranan, Sarita Kachapong
โรงพยาบาลไทรงาม อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร 62150
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมฐานอะคริลิกกับผู้สูงอายุที่มีฟันธรรมชาติอย่างน้อย 20 ซี่และไม่มีฟันทั้งปากที่เคยรับบริการทันตกรรมโรงพยาบาลไทรงามระหว่าง พ.ศ. 2555-2557 กลุ่มตัวอย่างจานวน 1,158 คนคำนวณตามสัดส่วนขนาดประชากรและสมัครใจเข้าร่วมการศึกษา เก็บข้อมูลในเดือนกันยายนถึงธันวาคม 2558 ด้วยแบบสอบถามข้อมูลสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ แบบประเมินผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อสมรรถภาพในชีวิตประจำวัน และแบบตรวจสภาวะทันตสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ความแปรปรวนทางเดียว และ Tamhane’s T2 ด้วยระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ในกลุ่มผู้ใส่ฟันเทียมมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ร้อยละ 24.00 โดยเป็นการรับประทานอาหารสูงที่สุด (ร้อยละ 21.54) ในภาพรวม กลุ่มที่ใส่ฟันเทียมมีผลกระทบเฉลี่ยสูงกว่าผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปากอย่างมีนัยสำคัญในด้านการพูดหรือการออกเสียง การทำความสะอาดช่องปากหรือฟันเทียม การดำเนินชีวิตประจำวัน การพักผ่อนนอนหลับ และการคงสภาพอารมณ์ กลุ่มใส่ฟันเทียมน้อยกว่า 16 ซี่มีสัดส่วนผลกระทบสูงที่สุด (ร้อยละ 40.00) และสูงกว่ากลุ่มใส่ฟันเทียมตั้งแต่ 16 ซี่ และกลุ่มไม่มีฟันทั้งปาก อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวันมากกว่ากลุ่มใส่ฟันเทียมตั้งแต่ 16 ซี่ และลำบากในการพูดหรือการออกเสียงและดำเนินชีวิตประจำวันมากกว่ากลุ่มที่มีฟันธรรมชาติตั้งแต่ 20 ซี่ แม้ว่าฟันเทียมช่วยเพิ่มความสามารถในการรับประทานอาหารแต่เมื่อใส่ฟันเทียมโดยมีฟันธรรมชาติด้วยควรได้รับการดูแลป้องกันโรคฟันผุและปริทันต์ และตรวจสภาพฟันเทียมเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
 
ที่มา
วิทยาสารทันตสาธารณสุข ปี 2560, January-June ปีที่: 22 ฉบับที่ 1 หน้า 38-47
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, elderly, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชี่วิต, ฟันเทียมถอดได้ฐานอะคริลิก, oral impacts on daily performance, acrylic based removable denture, ผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อสมรรถภาพในชีวิตประจาวัน