การเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างยา Aldren70Ò กับยา FosamaxÒ ถึงผลต่อการสลายกระดูกในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคกระดูกพรุน
ชนิกา อังสนันท์สุข, วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ*, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์
Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, 270 Rama VI road, Ratchathewee, Bangkok 10400, Thailand; Phone: +66-2-2011589,Fax: +66-2-2011599; E-mail: wiwat.waj@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
                วัตถุประสงค์ : เพื่อทำการเปรียบเทียบประสิทธิผลของยา Aldren 70® กับยา Fosamax® ในการลดค่าการสลายกระดูก (bone resorption marker) และเปรียบเทียบความปลอดภัยในการใช้ยา ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น และความร่วมมือของผู้ป่วยในการรับประทานยา
                วัสดุและวิธีการ : ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าร่วมวิจัยที่เป็นสตรีวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคกระดูกพรุนจำนวน 74 คน จากนั้นทำการสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เพื่อรับยา Aldren 70® หรือ Fosamax® โดยรับประทานยาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกันนาน 24 สัปดาห์ และได้ทำการตรวจ bone resorption marker (carboxy-terminal telopeptide cross-linked type 1 collagen: CTX) ที่ 12 และ 24 สัปดาห์หลังรับประทานยา โดยได้มีการนัดผู้ร่วมวิจัยมาติดตามความร่วมมือในการรับประทานยา อาการข้างเคียง ปัญหาจากการบริหารยา และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เป็นระยะ
                ผลการศึกษา : ค่าเฉลี่ยร้อยละของ CTX ทั้ง 2 กลุ่มลดลงได้ดีในระดับที่น่าพอใจที่เวลา 12 สัปดาห์ (ร้อยละ 66.3 ในกลุ่ม Aldren 70® และร้อยละ 66.6 ใน Fosamax®) และที่ 24 สัปดาห์ (ร้อยละ 71.1 ในกลุ่ม Aldren 70® และร้อยละ 62.6 ในกลุ่ม Fosamax®) และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบผู้ร่วมวิจัยที่ไม่ตอบสนองต่อยาถึงร้อยละ 20 ในกลุ่ม Aldren 70® และร้อยละ 23.5 ในกลุ่ม Fosamax® ส่วนอาการข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร แม้ว่ากลุ่ม Aldren 70® จะมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารส่วนต้นถึงร้อยละ 10.8 ส่วนกลุ่ม Fosamax® พบเพียง 2.7 แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และความร่วมมือในการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง 2 กลุ่ม
                สรุป : Aldren 70® มีประสิทธิผลเท่าเทียมกับ Fosamax® ในการลดระดับ CTX ในเลือด ที่ 12 และ 24 สัปดาห์หลังรับประทานยา โดยมีความปลอดภัยในการใช้ยา ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น และความร่วมมือของผู้ป่วยในการรับประทานยาไม่แตกต่างกัน
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2560, May ปีที่: 100 ฉบับที่ 5 หน้า 488-495
คำสำคัญ
osteoporosis, adherence, Bisphosphonates, post menopause, bone marker