การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของยา paclitaxel ในการรักษาเสริมมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกที่มีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, นพดล โสภารัตนไพศาล, สาวิตรี เมาฬีกุลไพโรจน์, สุพล ลิมวัฒนานนท์*Department of Social and Administrative Pharmacy, Faculty of Pharmaceutical Sciences, Khon Kaen University, Amphoe Muang, Khon Kaen, 40002, Thailand. Phone: 0-4336-2090, Fax: 0-43202-379, E-mail: supon@kku.ac.th
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอผลการประเมินทางเศรษฐศาสตร์สำหรับยา paclitaxel ซึ่งใช้ต่อจาก doxorubicin ร่วมกับ cyclophosphamide (AC) เพื่อการรักษาเสริมในมะเร็งเต้านมระยะแรก ต้นทุนทางสุขภาพจากการใช้ AC เปรียบเทียบกับ AC และ paclitaxel โดยใช้บริบทระบบสุขภาพของไทย จากการศึกษาของ CALGB-9344 พบว่าการเสริม paclitaxel สามารถเพิ่มอัตราการปลอดโรคได้ 17% จากการจำลองตัวแบบ Markov ในระยะเวลา 15 ปี พบว่า การใช้ paclitaxel สามารถยืดอายุผู้ป่วยได้ 0.30 ปีที่ปรับด้วยคุณภาพชีวิต (quality-adjusted life years, QALY) การเพิ่มขึ้นของประสิทธิผลดังกล่าวถูกชดเชยด้วยต้นทุนของการใช้ยารักษาเสริมเมื่อหักลบกับการรักษาการกลับเป็นซ้ำ การติดตาม และการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นเงินทั้งสิ้น 221,433 บาท หมายความว่าการเพิ่มขึ้น 1 ปีที่มีคุณภาพชีวิตสมบูรณ์จากการใช้ paclitaxel ได้จากการเสียค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น 738,111 บาท อัตราส่วนของต้นทุน-ประสิทธิผล (ICER) ดังกล่าวมีค่ามากกว่าเกณฑ์ของความคุ้มค่าที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก สำหรับในผู้หญิงที่ผลการตรวจชิ้นเนื้อ estrogen receptor ให้ผลลบซึ่ง paclitaxel เพิ่มอัตราการปลอดโรคได้ 28% ค่า ICER ของ paclitaxel ลดลงเป็น393,984 บาทต่อ QALY
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, May
ปีที่: 89 ฉบับที่ 5 หน้า 690-698
คำสำคัญ
cost-effectiveness, Adjuvant chemotherapy, Early-stage breast cancer, Markov model, Paclitaxel, Taxanes