ประสิทธิผลของโบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ ในการป้องกันการเกิดเป็นซํ้าของแผลเป็นคีลอยด์: การทดลองแบบสุ่มชนิดปิดในบุคคลเดียวกัน
ชาติชาย พฤกษาพงษ์*, ศริปรียา ยิ่งทวีสิทธิกุล, ชัยรัตน์ บุรุษพัฒน์
Division of Plastic and Reconstructive Surgery, Phramongkutklao Hospital and College of Medicine, Bangkok 10400, Thailand; Phone: +66-86-3178962; E-mail: cpruksapong@hotmai.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง : การรักษาแผลเป็นคีลอยด์ เป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาเรื่องความสวยงาม การรักษาในปัจจุบันยังให้ผลที่ไม่แน่ชัด มีการศึกษาก่อนหน้านี้ว่า โบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ สามารถยับยั้งการสร้างไฟโบรบลาสโกรทแฟคเตอร์ (TGF-B) ซึ่งอธิบายการเกิดแผลเป็นคีลอยด์ได้
          วัตถุประสงค์ : เพื่อดูประสิทธิผลการป้องกันการเกิดแผลเป็นคีลอยด์ด้วยสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ ในทางเวชปฏิบัติ
                วัสดุและวิธีการ : การศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นแผลเป็นคีลอยด์ และได้รับการผ่าตัดแก้ไขจำนวน 25 ราย ณ โรงพยาบาลพระมงกฎเกล้า ระหว่างเดือน มีนาคม พ.ศ. 2557 ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2558 โดยหลังผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการแบ่งแผลออกเป็น 2 ส่วน และได้รับการฉีดรักษาแบบสุ่มชนิดปิดด้วยโบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ และคอร์ติโคสเตียรอยด์ และติดตามผลการรักษาเพื่อเปรียบเทียบการกลับเป็นซ้ำที่ระยะเวลา 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน
                ผลการศึกษา : ผลการรักษาพบว่า กลุ่มที่ใช้การรักษาด้วย โบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ ได้ผลดีกว่ากลุ่มที่ใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ (6.22±1.72 vs. 5.89±1.83, p = 0.347) ในระยะ 1 และ 3 เดือน ของการรักษา แต่ในระยะ 6 เดือน กลุ่มที่รักษาด้วยคอร์ติโคสเตียรอยด์จะได้ผลดีกว่า  (5.33±1.87 vs. 4.11±1.96, p = 0.010)
                สรุป : การรักษาการเกิดเป็นซ้ำในการรักษาแผลเป็นคีลอยด์ด้วยโบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ ได้ผลดีกว่าคอร์ติโคสเตียรอยด์ในระยะ 1 และ 3 เดือน หลังการรักษา แต่ในระยะ 6 เดือน การรักษาด้วยคอร์ติโคสเตียรอยด์จะได้ผลดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2560, March ปีที่: 100 ฉบับที่ 3 หน้า 280-286
คำสำคัญ
Keloid, Botulinum toxin A, Corticotherapy