ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้แป้งยา clotrimazole powder 1% ในการรักษาเสริมของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อราที่ผิวหนังชั้นตื้นบริเวณซอกพับ
รัศม์ฐวัฒน์ ดีสมโชค, สุมนัส บุณยะรัตเวช*, จรัสศรี ฬียาพรรณ, นันทิดา ประเสริฐวรนันท์, ชุดา รุจิธารณวงศ์, ลลิตา มัฏฐาพันธ์, เพ็ญวดี พัฒนปรีชากุล
Department of Dermatology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, 2 Wanglang Road, Bangkoknoi, Bangkok 10700, Thailand; Phone: +66-2-4194333, Fax: +66-2-4115031; E-mail: consultskin@yahoo.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง : ภาวะติดเชื้อราที่ผิดหนังชั้นตื้นพบได้บ่อยโดยเฉพาะบริเวณซอกพับผิวหนัง
          วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแป้งยา clotrimazole ในการรักษาเสริมของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อราที่ผิวหนังชั้นตื้นบริเวณซอกพับ
                วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาเปรียบเทียบแบบเปิดและใช้การสุ่มเพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ยาครีม clotrimazole 1% กับแป้งยา clotrimazole 1% ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อกลากแท้ หรือ Candida spp. ที่ซอกพับ เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ใช้ยาครีม clotrimazole 1% เป็นกลุ่มควบคุม โดยประเมินจากอัตราการหายโดยสมบูรณ์ในระยะเวลาที่ 4, 8 และ 12 สัปดาห์ และอัตราการเกิดเป็นซ้ำในช่วงระยะเวลา 24 สัปดาห์ รวมถึงความพึงพอใจของผู้ป่วย
                ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยทั้งหมด 67 ราย อายุเฉลี่ย 54.6 ปี และ 61.2% เป็นผู้ชาย พบผู้ป่วย 35 ราย ติดเชื้อกลากแท้ และ 32 ราย ติดเชื้อ Candida spp. ที่ผิวหนัง อัตราการหายโดยสมบูรณ์ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญในการประเมินช่วง 4 สัปดาห์แรก (p = 0.01) โดยเฉพาะสำหรับการติดเชื้อกลากแท้ (p = 0.039) ในกลุ่มควบคุมพบผู้ป่วย 2 ราย มีการกลับเป็นซ้ำของ Candida spp. ในทั้งสองกลุ่ม การกลับเป็นซ้ำในช่วง 24 สัปดาห์ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร่วมกับไม่พบความแตกต่างของความพึงพอใจผู้ป่วยต่อความสะดวกสบายในการใช้ยา
                สรุป : การใช้แป้ง clotrimazole 1% สามารถแนะนำใช้เป็นการรักษาเสริม และอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อราที่ผิวหนังชั้นตื้นบริเวณซอกพับได้
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, December ปีที่: 99 ฉบับที่ 12 หน้า 1355-1359
คำสำคัญ
Dermatophytes, candidiasis, 1% clotrimazole powder, Intertrigenious areas, Superficial fungal cutaneous infection