การศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการใช้วัสดุปิดแผลไคโตซานเพื่อลดปริมาณเลือดออกในผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายผิวหนังชั้นนอก: งานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
ฐิติณัฐ ดิลกหัตถการ*, ภรัญยู วิไล, วิศิษฎ์ รังษิณาภรณ์
Department of Orthopaedics, Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University, 62 Moo 7 Ongkharak, Nakhon Nayok 26120, Thailand; Phone: +66-81-5591661; E-mail: thitinutbank@gmail.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง : การผ่าตัดปลูกถ่ายผิวหนังชั้นนอกเป็นหัตถการที่ทำให้ผู้ป่วยที่สูญเสียผิวหนังชั้นนอกไป ซึ่งทำให้เกิดภาวะเลือดออกมากในบริเวณที่ย้ายผิวหนังมา เนื่องจากมีพื้นผิวดิบบริเวณกว้างทำให้ต้องเปลี่ยนวัสดุปิดแผลก่อนถึงเวลาอันควร ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวดขณะเปลี่ยนวัสดุปิดแผลและอาจทำให้เกิดแผลเป็นที่ไม่พึงประสงค์ ไคโตซานเป็นวัสดุปิดแผลที่สกัดจากเปลือกแข็งของสัตว์ทะเล มีคุณสมบัติทำให้เลือดหยุดเร็วขึ้น สามารถช่วยลดปริมาณเลือดออกจากแผลผ่าตัดได้
                วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการใช้ไคโตซานเปรียบเทียบกับการใช้วัสดุแบบมาตรฐานในการปิดแผล ผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายผิวหนังชั้นนอกในการช่วยลดปริมาณเลือดออกจากแผลผ่าตัด รวมถึงศึกษาภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ไคโตซาน
                วัสดุและวิธีการ : ผู้นิพนธ์ได้ดำเนินการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายผิวหนังชั้นนอก ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 20 ราย ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ จังหวัดนครนายก โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง คือ ผู้ที่ได้รับการปิดแผลด้วยไคโตซาน 10 ราย และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ที่ได้รับการปิดแผลด้วยวิธีมาตรฐาน 10 ราย โดยมีการเก็บข้อมูล ได้แก่ข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้าร่วมงานวิจัย ขนาดของแผล น้ำหนักของวัสดุปิดแผล คะแนนความปวด และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด
                ผลการศึกษา : ไม่มีความแตกต่างกันใน 2 กลุ่มประชากร ปริมาณเลือดออกโดยเฉลี่ยจากกลุ่มที่ใช้ไคโตซานเท่ากับ 15.4 กรัม มีปริมาณน้อยกว่าปริมาณเลือดออกจากกลุ่มที่ปิดแผลโดยวิธีมาตรฐานซึ่งมีปริมาณเท่ากับ 26.3 กรัม แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ไคโตซานเป็นวัสดุปิดแผล
                สรุป : การศึกษานี้พบว่าไคโตซานไม่สามารถลดปริมาณเลือดออกจากแผลผ่าตัดย้ายผิวหนังเมื่อเปรียบเทียบกับการปิดแผลด้วนวิธีมาตรฐาน
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, November ปีที่: 99 ฉบับที่ Suppl 8 หน้า S19-S24
คำสำคัญ
Skin graft, Dressing technique, Chitosan