โปรแกรมการดูแลแบบผสมผสานโดยใช้สมาธิ ต่อความวิตกกังวลและการควบคุมการหายใจในผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจยาก: การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
เบญจมาส ถิ่นหัวเตย, ประณีต ส่งวัฒนา*, วงจันทร์ เพชรพิเชษฐ์เชียร
มหาวิทยาลัยสงฃลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112
บทคัดย่อ
ทุกข์จากการหย่าเครื่องช่วยหายใจไม่สำเร็จ เกิดจิตและกายไม่สมดุล จากแนวคิด “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ในการควบคุมการหายใจ “เป็นการส่งเสริมความสามารถของผู้ป่วยในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการดูแลแบบผสมผสานโดยใช้สมาธิ ต่อความวิตกกังวล และการควบคุมการหายใจวัด ในผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจยาก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 54 คน โดย 23 คนถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มทดลอง และ 31 คน ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มควบคุม ซึ่งได้รับการดูแลตามปกติ สำหรับกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามปกติและใช้แผนการดูแล “GREATWEAN” มี 9 ขั้นตอน คือ วางเป้าหมายร่วมกันลดความกลัวและวิตกกังวลให้ญาติอยู่กับผู้ป่วย เน้นผู้ป่วยมีส่วนร่วม เทคโนโลยีปลอดภัยเหมาะสม ร่วมใจกันทำ สร้างเสริมพลังอำนาจ ประเมินติดตาม และสนับสนุนต่อเนื่อง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล มาตรวัดความวิตกกังวล และการควบคุมการหายใจโดยใช้ อัตราการหายใจ ปริมาตรการหายใจเข้าออกในหนึ่งนาที และความอิ่มตัวของออกซิเจนจากแบบสังเกต
                ผลการศึกษาพบความวิตกกังวลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการดูแลแบบผสมผสานโดยใช้สมาธิ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมในวันที่ 3 และ 7 ของการใช้โปรแกรม โปรแกรมนี้ไม่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงความสามารถของผู้ป่วยในการควบคุมการหายใจด้วยตนเอง โปรแกรมการดูแลโดยใช้สมาธินี้ควรนำมาประยุกต์ใช้เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่หย่าเครื่องช่วยหายใจยากได้
 
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2560, January-March ปีที่: 21 ฉบับที่ 1 หน้า 18-31
คำสำคัญ
Thailand, Randomized controlled trial, Anxiety, ความวิตกกังวล, Breathing control, การควบคุมการหายใจ, Meditation Program, Weaning Difficulties, โปรแกรมสมาธิ, หย่าเครื่องช่วยหายใจยาก