ารเปรียบเทียบผลระหว่างโปรแกรมการออกกำลังกายแบบพิลาทิสและการออกกำลังกายแบบฝึกการทรงตัวที่เกี่ยวข้องกับความมั่นใจในการทรงตัวของผู้สูงอายุในชุมชน
ญาดานุช บุญญรัตน์*, กิตตินนท์ จรูญศรีสวัสดิ์
กายภาพบำบัด สำนักวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
บทคัดย่อ
 หลักการและวัตถุประสงค์ : การออกกำลังกายแบบพิลาทิส และแบบฝึกการทรงตัวเป็นการเพิ่มความสามารถในการทรงตัว ความแข็งแรง และความยืดหยุ่นของร่างกาย อย่างไรก็ตามยังขาดงานวิจัยที่สนับสนุนผลการออกกำลังกายดังกล่าว งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลการออกกำลังกายทั้ง 2 แบบ ที่สัมพันธ์กับความมั่นใจในการทรงตัวของผู้สูงอายุ
                วิธีการศึกษา : ผู้เข้าร่วมวิจัย 45 ราย สุ่มจับฉลากเป็น 3 กลุ่ม 1. ออกกำลังกายแบบพิลาทิส 2. ออกกำลังกายแบบฝึกการทรงตัว ทั้งหมด 12 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และ 3. กลุ่มควบคุมได้รับการแนะนำการออกกำลังกายทั่วไป ทุกกลุ่มประเมินโดย Time Up and Go Test (TUGT) และ Modified-Activities-Specific Balance Confidence Scale (ABC) scale ก่อนและหลังการศึกษา
                ผลการศึกษา : หลังจากโปรแกรม 4 สัปดาห์ พบว่าในกลุ่ม 1 และ 2 ค่า TUGT มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนค่า (ABC) scale ไม่พบค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามไม่พบค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของทุกตัวแปรเมื่อเปรียบเทียบทั้ง 3 กลุ่ม
                สรุป : การออกกำลังกายทั้ง 2 แบบ ทำให้เพิ่มความสามารถในการทรงตัวและมีแนวโน้มเพิ่มความมั่นใจในการทรงตัวซึ่งอาจช่วยป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุได้     
 
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2559, November-December ปีที่: 31 ฉบับที่ 6 หน้า 384-391
คำสำคัญ
Balance, การทรงตัว, Pilates exercise, Balance confidence, ออกกำลังกายพิลาทิส, ความมั่นใจในการทรงตัว