ต้นทุนความเจ็บป่วยการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
ภาสกร ศรีทิพย์สุโข*, ประภาศรี กุลาเลิศ, อารยา ศรัทธาพุทธ, อรพรรณ โพชนุกูล, ฐิตินันท์ ไมตรี, เติมสุข รักษ์ศรีทอง, พิสิษฐ์ ไตรสุทธิ์
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อ
 บทนำ : ภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ดเป็นปัญหาที่สำคัญของเด็กเล็ก วัตถุประสงค์งานวิจัยนี้เพื่อประเมินต้นทุนการเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลของเด็กเล็กที่มีภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ดในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในเด็กเล็กภายใต้มุมมองของสังคม สถานพยาบาลและผู้ป่วย
                วิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยใน 97 รายที่มีภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ดในหอผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีอายุเฉลี่ย 29 เดือน โดยเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลการเงินของโรงพยาบาลและการสัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้ป่วย ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์จะถูกประมาณค่าโดยอัตราส่วนต้นทุนต่อมูลค่าที่เรียกเก็บของโรงพยาบาล ต้นทุนการดูแลอย่างไม่เป็นทางการของผู้ดูแลประมาณค่าด้วยวิธีแนวทางต้นทุนมนุษย์
                ผลการศึกษา : ต้นทุนเฉลี่ยของการนอนโรงพยาบาลในมุมมองของสังคม สถานพยาบาล และผู้ป่วยเป็น 28,717 บาท (SD = 17,852 บาท), 23,411 บาท (SD = 16,154 บาท) และ 6,167 บาท (SD = 7,786 บาท) ตามลำดับ ร้อยละ 94.9 ของต้นทุนในมุมมองของสังคมที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษาที่โรงพยาบาล ร้อยละ 5.1 เกิดขึ้นก่อนการรักษาที่โรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายด้านการบริการพยาบาลเป็นต้นทุนสูงสุดทั้งในมุมมองสังคมและสถานพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 30.2 และ 33.3 ตามลำดับ รองลงมาคือต้นทุนค่าห้องและค่าอาหารระหว่างการนอนโรงพยาบาล
                วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา : ค่าใช้จ่ายด้านบริการพยาบาล ค่าห้อง และค่าอาหารระหว่างการนอนโรงพยาบาล เป็นต้นทุนที่สำคัญการเจ็บป่วยของเด็กเล็กที่มีภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ดในมุมมองสังคมและสถานพยาบาล
 
ที่มา
ธรรมศาสตร์เวชสาร ปี 2559, October-December ปีที่: 16 ฉบับที่ 4 หน้า 553-560
คำสำคัญ
Cost, ต้นทุน, Young children, Acute wheezing, Thammasat university hospital, เด็กเล็ก, ภาวะหายใจหอบเฉียบพลันมีเสียงวี้ด, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ